ไก่ เขียวหางดำ ที่นิยมเป็นพันธุ์แท้จะเป็นไก่อุตรดิตถ์ ชลบุรี (พนัสนิคม) อยุธยา และแถบภาคใต้หลายจังหวัด ไก่เขียวหางดำเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ และในวรรณคดีไทย เรื่องพระรถเมรี หรือพระรถเสน หรือนางสิบสอง ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ พระยาพิชัยดาบหักเป็นชาวอุตรดิตถ์ ชอบกีฬาชกมวย ฟันดาบ และชนไก่มาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อโตขึ้นได้ร่ำเรียนวิชาการ หนังสือ และวิชาป้องกันตัว คือมวยไทย และฟันดาบและชอบการเลี้ยงไก่ชนโดยเฉพาะไก่เขียวหางดำเป็นไก่ที่มีชั้นเชิง หลายกระบวนท่า มีลำหักลำโค่นดี จะตีคู่ต่อสู้ไม่เกิน 3 อัน เป็นที่เลื่องลือ แม้แต่พระยาพิชัยดาบหักยังยกย่องว่าไก่เขียวหางดำเป็นไก่เทวดา ต่อมาได้เข้ารับราชการรับใช้สมเด็จพระเจ้าตากสิน ครั้ง หนึ่งก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่ายกทัพมาล้อมทัพของพระยาพิชัยดาบหัก ได้ทำสงครามสู้รบกันทุกวัน กำลังทหารจึงล้มตายไปจำนวนมาก เสบียงอาหารก็ร่อยหรอ เห็นว่าถ้าขืนปล่อยให้พม่าล้อมไว้อย่างนี้คงต้องพังแน่ ก็เลยออกกลอุบายให้พักรบ 1 วัน ให้ทหารไปมาหาสู่กันนอกค่ายและจัดให้มีการชกมวย ชนไก่ ถ้าฝ่ายไทยชกมวยแพ้ ชนไก่แพ้ จะยอมให้ยึดค่าย แต่ถ้าฝ่ายพม่าแพ้ก็ให้เลิกทัพกลับไป พม่าหลงกลก็ยอมพระยาพิชัยฯ ให้ศิษย์เอกมวยไทยชกกับพม่า พม่าแพ้ และเอาไก่เขียวหางดำเป็นเหล่าพันธุ์ที่พระยาพิชัยฯ นิยมไปชนกับพม่า ไก่พระยาพิชัยฯ ชนะ พม่าต้องเลิกทัพกลับไป จึงเป็นการรักษาค่ายและชีวิตทหารเอาไว้ได้ ไก่ เขียวเกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทย คือ ในเรื่องพระรถเมรี หรือนางสิบสอง พระรถเสนมีแม่และป้าตาบอดถึง 12 คน ถูกขังไว้ในถ้ำอดข้าวอดน้ำ พระรถเสนจึงต้องออกหาอาหารและน้ำมาเลี้ยงแม่และป้าทุกวัน เดือดร้อนถึงพระอินทร์สงสาร จึงมอบไก่แก่พระรถเสนให้นำไปชนพนันเอาข้าว 12 ห่อ มาให้แม่และป้ากิน
ประวัติความเป็นมา ไก่เขียวหางดำ
เป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ สืบได้ตั้งแต่ต้นสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่พันธุ์หนึ่งมีชั้นเชิงดีมีลำหักลำโค่นดี นิยมเลี้ยงแพร่หลายตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เช่น พระยาพิชัยดาบหัก เลี้ยงไก่เขียวหางดำ ชื่อ ไก่พาลี
แหล่งกำเนิด
ไก่เขียว หางดำมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของไทย ไก่เขียวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น แถบภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี (พนัสนิคม) เรียก “เขียวพระรถ” ในภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เรียก “เขียวพาลี” ส่วนภาคกลาง เรียก “เขียวพระยาพิชัยดาบหัก” และภาคใต้ เรียก “เขียวมรกต” และยังมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น เขียวไข่กา, เขียวพระอินทร์, เขียวนิลสาริกา ไก่พันธุ์เขียวหางดำ ปัจจุบันค่อนข้างหายาก กำลังอนุรักษ์และพัฒนากันต่อไป
ประเภท ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ย เพศผู้หนัก 3.00 กิโลกรัมขึ้นไป เพศเมียประมาณ 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป
สีของเปลือกไข่ สีน้ำตาลนวล
ลักษณะลูกไก่ หัว หน้าอก ปีกไชนอกสีขาวเล็กน้อยคล้ายประดู่หางดำ ปาก แข้ง สีเขียวอมดำ หรือน้ำตาลอมดำ
ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศผู้
ไก่ เขียวแมลงภู่หางดำ มีรูปร่างเพรียวยาวสูงระหง ทรงพญาหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยกกระเบนหางรัด หางสวยงามทรงฟ่อนข้าวหรือพลูจับ ก้านหางแข็ง ปั้นขาใหญ่กลมเรียกแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบนกยูงหรือกา ยืนเหยียดขาตรงชูคอเล่นสร้อยตลอดเวลา
จมูก
รูจมูกกว้างยาวเป็นแนวตามปาก สันจมูกเรียบไม่เผยอ สีเดียวกับปาก
หาง หางพัดและหางกระรวยสีดำสนิท หางพัดเรียงกันเป็นแนวจากล่างขึ้นบนตามลำดับ หางกระรวยดก ยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางแข็ง ปลายหางชี้ตรง กระเบนหางคอดรัดขั้วหางใหญ่และชิด กระปุกน้ำมันเดี่ยว
ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
เป็นไก่ทรงยาวจับ 2 ท่อน คอยาวลอนเดียว ขนพื้นตัว ขนหาง ทั้งหมดเป็นสีดำ ขนคอ ขนหลัง ปลายขน เป็นสีเขียวอมดำเล็กน้อยตามสีตัวผู้ จะเป็นเขียวอะไรก็ให้สังเกตที่ปลายขนสร้อยคอจะออกสีเขียวเล็กน้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย ตา สีเขียวอมดำ ยกเว้นเขียวนิลสาริกา และเขียวแมลงทับ ปาก แข้ง เล็บ เดือย จะมีสีขาว จาสีขาวปลาหมอตาย
สรุป
ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่ที่งดงาม ทรงเพรียวระหง ขนพื้นตัว ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังเป็นสีเขียวอมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย เป็นสีเขียวอมดำ
ประวัติความเป็นมา ไก่เขียว เลาหางขาว
เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้จากในสมัยอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาสมุหกลาโหมกำแพงเพชร นิยมไก่เขียวเลาหางขาว และสืบทอดมาถึงปัจจุบันซึ่งขาวกำแพงเพชรได้อนุรักษ์ไว้เป็นไก่ประจำจังหวัด
แห ล่งกำเนิด มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอีกหลายจังหวัดในประเทศไทย
ประเภท เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนัก เพศผู้โดยเฉลี่ย 3.00-4.00 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป
สี ของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีขาวอมน้ำตาล
ลักษณะ ลูกไก่ หัวขาว หน้าคอและหน้าอกสีขาว สันหลังดำ ปีกในดำ ไชปีกนอกขาว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองอมน้ำตาล ตาสีขาวอมเหลือง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
รูปร่างลักษณะ เป็นไก่ทรงปลีกล้วย ไหล่หนาใหญ่ ลำตัวกลมยาว หางยาว ท่าทางสง่างาม ทะมัดทะแมง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์ คือ ปาก แข้ง เล็บ มีสีขาวอมเหลือง ขนลำตัวสีดำ ปลายขนปีกสีขาว
ไก่เขียวเลาหางขาว มี 3 สายพันธุ์
1. เขียวเลาใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ เป็น สุดยอดของไก่เขียวเลาหางขาว ศักดิ์ศรี พอๆ กับไก่เหลืองหางขาวพระเจ้า 5 พระองค์ ตัวนี้จัดเป็นพวกเดียวกับไก่พระยาสมุหกลาโหมกำแพงเพชร ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเขียวเลา คือขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายมีสีเขียวอมดำแบบเขียวแมลงภู่ ขนปีกท่อนในสีดำ ท่อนนอกตอนชายปีกสีขาวแซม หางพัดสีดำ หางกระรวยคู่เอกสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีขาวอมเหลือง ที่หัว หัวปีก 2 ข้างและข้อขา 2 ข้างมีจุดกระประแป้งสีขาว อยู่เป็นหย่อมประปราย เรียกพระเจ้า 5 พระองค์ แบบไก่เหลืองหางขาวถือเป็นไก่สกุลสูงอีกชนิดหนึ่ง
2. ไก่เขียวเลาเล็กหางขาว รองจาก ไก่เขียวเลาใหญ่หางขาว ขนพื้นสีดำ ขนปีกขนหางพัดสีดำ หางกระรวยสีขาวปนดำ กระรวยคู่กลางขาวปลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลาขาวแซม คือ โคนขนสีขาวปลายเขียว และมีขนขาวขึ้นแซมประกาย ตาสีขาวอมเหลืองไม่มีหย่อมกระประแป้งแบบพระเจ้า 5 พระองค์ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองแบบเขียวเลาใหญ่
3. ไก่เขียวเลาดอกหางขาว รองจาก เขียวเลาเล็ก เขียวดอกเลาหางขาวมีลักษณะอื่นๆ เหมือนเขียวเลาเล็กหางขาว ต่างกันตรงสีประกายสร้อยซึ่งจะเป็นสีเขียวอมน้ำตาล
No comments:
Post a Comment