Thursday, June 3, 2010

ไก่ชน

ภาพ:Trd70301.gif

ไก่ชน เป็นกีฬาพื้นบ้านชนิดหนึ่งซึ่งได้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล คาดว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ประวัติของกีฬาไก่ชนที่เห็นได้เด่นชัดก็คือคราวที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง ได้นำไก่ไปชนกับไก่พม่า และไก่ของพระองค์สามารถเอาชนะไก่ของชาวพม่าได้ กีฬาไก่ชนในปัจจุบัน มีการเลี้ยงไก่ชนอย่างแพร่หลายทั่วทั้งประเทศ และไก่ที่เลี้ยงมีหลายพันธุ์ด้วยกัน


ประวัติกีฬาไก่ชน

ประวัติ การเล่นไก่เพื่อเป็นเกมกีฬานั้นเท่าที่พอจะค้นหาหลักฐานได้พบว่า เมื่อ 480 ปีก่อน คริสตศักราช ขุนศีกจากนครเอเธนส์(ประเทศกรีซ) ได้ยกทัพเรือไปโจมตีชาวเปอร์เซียน ที่เกาะแซลอะมิส แล้วได้เห็นกีฬาชนไก่ของชาวเปอร์เซียน จนเกิดความสนใจในความแข็งแกร่งของไก่ชน หลังจากรบชนะแล้วจึงได้นำเอาไก่ชนมาจากนครเอเธนส์กลับมาด้วย และได้จัดให้มีการชนไก่เป็นประจำ จากนั้นได้แพร่หลายเข้าสู่กรุงโรม (ประเทศอิตาลี) ในสมัยของ เทมินโตเคลส แล้วแพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป แม้จะถูกกลุ่มผู้นำศาสนาคริสเตียนขัดขวางแต่การชนไก่ก็ยังคงเป็นกีฬาที่นิยม กันในประเทศ อังกฤษ อิตาลี เยอรมันนี สเปน และบรรดาเมืองขี้นประเทศเหล่านี้

ภาพ:3333.jpg


ในปี ค.ศ. 1700 ที่ประเทศอังกฤษมีการผสมพันธุ์ไก่ชนและฝึกให้ชนหรือตีกันจนกลายเป็น อุตสาหกรรมสำคัญในช่วงนี้ จากทวีปยุโรป กีฬาชนไก่ก็แพร่ไปยังทวีปอเมริกา เริ่มต้นโดยชาวอังกฤษที่อพยพจากเกาะอังกฤษไปตั้งรกรากที่รัฐนิวอิงแลนด์ ของอเมริกา หลังจากนั้นกีฬาชนไก่ก็แพร่ไปทั่วทุกรัฐ และประเทศอื่นๆ ในปีค.ศ.1836 รัฐบาลอเมริกาได้แก้กฎหมายห้ามชนไก่ เพราะถือว่าโหดเหี้ยมทารุนต่อสัตว์ ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2477-2478 ก็ได้นำมาอ้างในการออกกฎหมายบ้าง โดยมีเหตุผลอีกประการหนึ่งว่า หากปล่อยให้เล่นกันแล้วชาวไร่ชาวนาจะพากันหมกมุ่นกับการพนันกีฬาชนไก่ไม่ เป็นอันทำไร่ทำนา

ในเมืองไทยนั้น กีฬาชนไก่นั้นอาจจะพอสรุปได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เกือบทุกหัวบ้านหัวเมืองตามตำบลใหญ่จะต้องมี “บ่อนไก่” ไว้สำหรับชนไก่แม้ว่าในระยะหลังจะมีการห้ามเปิดบ่อนกันเพิ่มขึ้นและมีการ กำหนดวันชนไก่ได้ไม่เกิน 2 วันต่อเดือน แก่กีฬาชนไก่และการเลี้ยงไก่ชนก็ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายของผู้ชายไทยโดย เฉพาะในชนบทอยู่ต่อไป

การชนไก่ เป็นอย่างไร

การชนไก่ หรือ cockfighting ก็คือ การเอาไก่ตัวผู้ สองตัว มาชนกัน ในสังเวียน ที่จัดขึ้น ไก่สองตัวนี้ นอกจากจะเป็น ไก่พื้นเมือง ที่มีสายพันธุ์ "ไก่ชน" (ไก่พื้นเมือง แบ่งออกเป็น สองประเภท ได้แก่ ไก่ ที่มี และไม่มีสายพันธุ์ ไก่ชน) เช่น ไก่เหลืองหางขาว ไก่ประดู่หางดำ ไก่เขียวเลา ไก่เทาทอง แล้ว ยังต้อง ผ่าน กระบวนการเลี้ยง เพื่อให้เป็น ไก่ชน โดยเฉพาะ อีกด้วย นั่นคือ เมื่ออายุได้ ๗ เดือน มันจะถูกนำมา ฝึกซ้อม หัดปล้ำกับ ไก่ รุ่นราว คราวเดียวกัน และได้ ออกกำลังกาย อยู่เสมอ โดยเจ้าของ จะนำ ไก่ อีกตัวหนึ่ง มาล่อ ให้มันโกรธ และวิ่งไล่กัน ประมาณ ๑๕ นาที ผ่านการ กราดน้ำ กราดแดด คือ เช็ดตัว ด้วยน้ำเย็น แล้วนำไป ตากแดดจัด เมื่อไก่หิวน้ำ จะยังไม่ให้กิน เพื่อสร้าง ความอดทน ให้ไก่ ถึงกระนั้น พวกมัน ก็จะได้รับ การประคบประหงม อย่างดี มีอาหารสมบูรณ์ ได้รับ การนวดตัว ด้วยสมุนไพร แถมยัง ได้นอนในมุ้ง


ภาพ:Cockfighting800.jpg


นักเลี้ยงไก่ จะทำทุกวิถีทาง ทั้งในขั้นตอน การเลี้ยง และระหว่าง การชน เพื่อให้ไก่ของตน ชนะ เพราะนั่นหมายถึง รายได้ก้อนโต จาก การพนัน ในบ่อนไก่ ซึ่งก็เหมือนกับ การพนันชนิดอื่น ที่ทำให้ คนเล่น กลายเป็น เศรษฐี หรือยาจก ได้ในพริบตา ในกรณีที่ เป็นไก่ชน พันธุ์แท้ บริสุทธิ์ และมี "ชั้นเชิง" ในการชนจริงๆ ยังอาจขายเป็น พ่อพันธุ์ไก่ชน ที่มีราคาสูง เหยียบแสน สร้างรายได้ ให้ผู้เลี้ยง อย่างงดงาม

"ตำราไก่เก่ง" บอกไว้ว่า ไก่ชนลักษณะดี ต้องมี "ปาก งุ้ม เหมือนเหยี่ยว เป็นร่องหนา แข็งแรง ตารูปตัววี คิ้วหนา หงอนหินบางกลางสูง คอยาวใหญ่ ลำตัวยาว ๒ ท่อน เนื้อเต็มทั้งหน้าอก และบั้นท้าย บั้นขาใหญ่ แข้งอิ่มกลม มีหมอนรองแข้ง มีเสือซ่อนเล็บ มีเหน็บชั้นใน... หางพันเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง..." ส่วนชั้นเชิง ในการชนนั้น ก็สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ต้อง "ปากไว ชนดี ตีแม่น" นักวิชาการ ด้านไก่พื้นเมือง ให้ข้อมูลว่า มีไก่ชน น้อยตัวนัก ที่มีคุณสมบัติ ดีพอจะนำไป แข่งขันชนไก่ได้

กติกาการชนไก่
ภาพ:Image010.jpg


เงินเดิมพัน

ข้อ 1. เมื่อเปรียบไก่ได้กันแล้ว ให้สองฝ่ายตกลงเก็บเงินเดิมพันไปวางไว้กับผู้รักษาเงินบ่อนก่อนปล่อยไก่เข้า ชนกัน ไก่ที่ยังไม่วางเงินเดิมพันจะนำเช้าไปชนไม่ได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายวางเงินเดิมพันแล้วยังไม่ถึงลำดับเข้าชน ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะถอนเงินเดิมพันคืนไม่ได้ (เว้นแต่ถึงเวลา 17.00 น.) เพราะมีเวลาขนกันน้อยอาจจะไม่ได้กินกัน ทางบ่อนยินดีคืนเงินให้ได้

นั้นจมลง ระยะซ้อมกินกัน 2 นาที ระยะชนกัน 10 นาที ภาชนะดังกล่าวตั้งเมื่อเวลาปล่อยไก่หากตัวใดตัวหนึ่งวิ่งหนีก่อนอันซ้อมจม ถือว่าไม่สู้แม้จะมีแผลหรือถูกเดือยก็ต้องยกเลิกกัน ถ้าหากตัวหนึ่งตัวใดวิ่งหนีพร้อมกับอันซ้อมตก 2 นาที จมหรือเสียงโป๊กดังขึ้นครั้งที่หนึ่ง หรือหลังจากนั้นถือว่าเป็นแพ้โดยเด็ดขาด

ซ้อมปากปล่อยหาง

ข้อ 3. ก่อนปล่อยไก่เข้าชนกัน ฝ่ายหนึ่งสงสัยว่าไก่ของตนไม่สู้เต็มตัว เสนอให้ผู้ปล่อยไก่อีกฝ่ายหนึ่ง และผู้ควบคุมการชนไก่ ในสังเวียนทราบล่วงหน้าว่า ฝ่ายตนต้องการซ้อมปากเป็นสัญญากินกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าชนกันแล้วฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ฝ่ายตนทำท่าจะไม่ สู้ จะบอกกันอีกฝ่ายหนึ่งว่าซ้อมปากกินกันไม่ได้ ต้องถือเอาอันซ้อม 2 นาที เป็นเกณฑ์ ถ้าหากผู้ปล่อยมีความประสงค์จะปล่อยหางกินกันก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องเสนอให้ผู้คุมบ่อนการชนไก่ก่อนปล่อยหางเข้าชนกัน เพื่อตกลงกันเป็นที่แน่นอนแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเอาอันซ้อม 2 นาที เป็นเกณฑ์

ถูกหักวิ่งหนี

ข้อ 4. ในระหว่างชนไก่กัน ตัวหนึ่งตัวใดถูกหักวิ่งหนีและออกปากร้องยังไม่ถือว่าแพ้ ต้องปล่อยจนหมดยกนั้นก่อนให้ทั้ง2ฝ่ายรับไปให้น้ำ 10 นาที เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นให้ทั้งสองฝ่ายนำไก่ไปปล่อยชนในสังเวียน หากตัวหนึ่งวิ่งหนีไม่สู้จึงถือว่าเป็นแพ้ถ้าหากตัวที่วิ่งหนีออกปากร้องใน ยกก่อนยังสู้อยู่ต้องชนกันไปจนกว่าจะแพ้หรือชนะ

จับเข้าหากัน

ข้อ 5. ไก่ทั้งคู่อยู่ห่างกันไม่พองสร้อยต่างยืนเฉยอยู่ และตัวหนึ่งวิ่งหนีและอีกตัวหนึ่งไม่ไล่ตาม ผู้ควบคุมการชนไก่มีสิทธิ์จับตัวต่อเข้าหาตัวรองทุกครั้ง ถ้าหากตัวหนึ่งหรือทั้งสองตาบอดผู้คุมการชนไก่มีสิทธิ์จับข้างตาดีเข้าหากัน หากตัวหนึ่งก้มหัวลงอยู่ใต้อกอีกตัวหนึ่งยืนเฉยต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น เพราะถือว่าไก่ทั้งสองอยู่ใกล้ชิดกัน

จับไก่ก่อน

ข้อ 6. เมื่อไก่ทั้งคู่ชนกันในสังเวียนก่อนถึงยกให้น้ำ ถ้าหากผู้ปล่อยไก่จับฝ่ายตนก่อนถือว่าเป็นแพ้ ไม่ว่าจะเป็นต่อหรือเป็นรอง ถ้าหากไก่ตัวหนึ่งกำลังวิ่งหนีอยู่ในสังเวียน ผู้ปล่อยไก่ตัวนั้นยังไม่ทันจับออก ผู้ปล่อยไก่ที่กำลังติดตามจับไก่ของตนก่อน ผู้ควบคุมการชนไก่จะตัดสินแพ้ทั้งคู่ (เว้นแต่ทั้งคู่ไล่ติดตามออกนอกสังเวียน ผู้ปล่อยไก่ทั้งสองฝ่ายจับไก่เข้าในสังเวียนได้) ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดจับไก่ที่กำลังชนกันในสังเวียนไม่ว่าตัวใดผู้นั้นจะต้อง รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ไก่คู่นั้นจะต้องชนกันไปจนแพ้-ชนะ ถ้าหากฝ่ายใดไม่ยอมชนต่อเมื่อยกนั้น ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินเป็นแพ้

ไก่ตาบอด

ข้อ 7. ไก่ตัวหนึ่งตัวใดตาบอดข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งถูกตีแหลกหรือเลือดปกคลุมแก้วตาดำไม่เห็นคู่ต่อสู้ ยังไม่ถือว่าแพ้ เพราะไก่ตัวนั้นยังสู้อยู่ต้องปล่อยไปจนหมดยก เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่จะได้พิสูจน์ทันที ถ้าปรากฏว่าตาบอดทั้งสองข้างจริงถือว่าแพ้ ไก่ตัวใดถูกตีตาบอดทั้งสองข้างในยกนั้น ยังไม่ถึงเวลาพิสูจน์ บังเอิญตัวตาบอดทั้งสองข้างตีตัวตาดีวิ่งหนีหรือออกปากร้อง เป็นแพ้ ต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นผู้ควบคุมการชนไก่จะได้พิสูจน์ตัวตาบอดก่อนทันที ถ้าเข้าลักษณะตาบอดทั้งสองข้าง ถือว่าแพ้ และตัวตาดีที่วิ่งหนีล่อหน้าไม่สู้ถือว่าแพ้ ทั้งคู่ยกเลิกกัน

หนียกสุดท้าย

ข้อ 8. ไก่คู่หนึ่งคู่ใดชนกันระหว่าง 12 อันยกสุดท้ายหรือจะถึงเวลา 19.00 น. ตามนาฬิกาของบ่อนที่จัดไว้ปรากฏว่าตัวใดตัวหนึ่งหนีหน้าอีกฝ่ายหนึ่ง นักพนันทั้งหลายจะถือว่าเป็นแพ้ไม่ได้ต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น หรือหมดเวลา 19.00 น. เสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่ จะให้ผู้ปล่อยจับเช็ดหน้าทันทีขณะที่อยู่ในสังเวียน เมื่อเช็ดหน้าเสร็จแล้วให้ปล่อยไก่ทั้งสองตัวเข้าหากัน ถ้าตัวหนึ่งไล่จิกหัวหรือจิกอีกตัวหนึ่งไม่จิกตอบหรือจิกแล้วบิดหน้าหนี เพียงครั้งเดียวถือว่าแพ้ ถ้าหากตัวที่เคยวิ่งหนีจิกตอบแล้วไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอกัน ต้องยกเลิกกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าหากันตัวต่อยืนเฉยอยู่ไม่ไล่จิกและ ตัวรองก้มหัวไม่บิดหน้าหนี ถือว่าเสมอ ยกเลิกเช่นกัน ถ้าหากฝ่ายหนีหน้ายกสุดท้ายหรือหมดเวลาดังกล่าว จับไก่ออกสังเวียนไป โดยไม่ทำตามคำสั่งผู้คุมการชนไก่ ถือว่าแพ้ตัวหนึ่งตัวใดเข้าปล่อยชนกันยกสุดท้าย ไม่ยอมสู้กับคู่ต่อสู้ ถือว่าแพ้เด็ดขาด

ปากเดือยหลุด

ข้อ 9. ถ้าหากปากไก่ตัวใดตัวหนึ่งหลุดออก จะใช้ปากไก่ใหม่สวมแทนได้ และไก่ตัวใดตีจนหลุดจะใช้เดือยที่หลุดผูกติดได้ เมื่อหมดยกพักให้น้ำ ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้เดือยไก่ตัวอื่นผูกแทน หรือโลหะสวมหรือผูกแทนถือว่าเป็นแพ้

ไก่ถูกยาพิษ

ข้อ 10. เมื่อเจ้าของไก่ทั้งสองฝ่าย ได้วางเงินเดิมพันกับผู้รักษาเงินบ่อนแล้วยังไม่ถึงลำดับเข้าชนกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ของตนถูกวางยาพิษ ต้องแจ้งให้เจ้าของบ่อนหรือผู้คุมการชนไก่ จะสั่งยกเลิกและคืนเงินเดิมพันที่วางไว้ ถ้าหากพิสูจน์แล้วไม่เป็นความจริง เจ้าของไก่จะต้องนำไก่ตัวนั้นเข้าชนตามลำดับที่จัดไว้ ถ้าไม่นำไปชนตามลำดับ ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินไก่ตัวนั้นว่าแพ้ เมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าชนกันแล้ว ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมากล่าวหาว่าไก่ของตนถูกวางพิษต้องปล่อยชนกันแพ้หรือชนะ

ไม่ให้บิดพลิ้ว

ข้อ 11. ไก่ทุกคู่เมื่อชนกันถึงอันยกพักให้น้ำ 10 นาที เสียงโป๊กดังขึ้นทั้งสองฝ่ายนำไก่เข้าชนต่อไป หากฝ่ายหนึ่งนำไก่เข้าไปคอยอยู่ในสังเวียนอีกฝ่ายหนึ่งทำท่าบิดพลิ้วไม่รีบ นำไก่เข้าชนตามกำหนด ผู้คุมการชนมีสิทธิ์สั่งตั้งอันซ้อม 2 นาที ถ้าหากอันซ้อมจมลง เสียงโป๊กดังขึ้นก่อนนำไก่เข้าในสังเวียน ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินใจให้ไก่ตัวนั้นแพ้

ยกโดยลำพัง

ข้อ 12. ไก่คู่หนึ่งคู่ใดชนกันไม่ถึง 12 อัน หรือหมดเวลา 19.00 น. ถ้าหากเจ้าของหรือผู้ปล่อยไก่ทั้งสองฝ่ายตกลงยกเลิกกันเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ควบคุมบ่อนไก่ 19.00 น. เสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่ จะให้ผู้ปล่อยจับเช็ดหน้าทันทีขณะอยู่ในสังเวียน เมื่อเช็ดหน้าเสร็จแล้วให้ปล่อยไก่ทั้งสองตัวเข้าหากัน ถ้าตัวหนึ่งไล่จิกหัวหรือจิกอีกตัวหนึ่งไม่จิกตอบหรือจิกแล้วบิดหน้าหนี เพียงครั้งเดียวถือว่าแพ้ ถ้าหากตัวที่เคยวิ่งหนีจิกตอบแล้วไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอกัน ต้องยกเลิกกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าหากันตัวต่อยืนเฉยไม่ไล่จิกและ ตัวรองก้มหัวไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอยกเลิกเช่นกัน ถ้าหากหนีหน้ายกสุดท้าย หรือ หมดเวลาดังกล่าวจับไก่ออกสังเวียนไปโดย

ไม่ทำตามคำสั่งผู้คุมการชนไก่ถือว่าแพ้ตัวที่ปล่อยชนกันยก สุดท้าย ไม่ยอมสู้กับคู่ต่อสู้ ถือว่าแพ้เด็ดขาดจะต้องเสียค่าน้ำทั้งสองฝ่าย คือร้อยละ 5 บาท ตามจำนวนเงินเดิมพันที่วางไว้

ห้ามของมึนเมา

ข้อ 13. เมื่อปล่อยไก่เข้าชนกันแล้ว เจ้าของหรือผู้ปล่อยไก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ตนสู้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ จะนำเอาของมึนเมา หรือสิ่งอื่นใดให้ไก่กินไม่ได้ ถ้าหากไก่ตัวใดเข้าไปในสังเวียนไม่ยอมสู้กับคู่ต่อชนคือไม่จิกตอบ ไม่ยืนเตะ นอนอยู่กับพื้นตลอดยกนั้น เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้น ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินไก่ตัวนั้นแพ้


ประวัติไก่ชนพระนเรศวร(ไก่ชนเหลืองหางขาว)

ภาพ:1475.jpg
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


จากหนังสือพระมหากษัตริย์ไทย ของประกอบโชประการ 2519 หน้า 208 กล่าวไว้ดังนี้

วันหนึ่งได้มีการตีไก่ขึ้นระหว่างสมเด็จพระนเรศวรฯกับไก่ของ มังชัยสิงห์ราชนัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา)ไก่ของ สมเด็จพระนเรศวรตีชนะ ไก่ของมังชัยสิงห์ มังชัยสิงห์ขัดเคืองพระทัยจึงตรัส ประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่าว่า

“ ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง หนอ ” ถ้าไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกล้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะ ได้แต่รับฟังหรือ เจรจาโต้ตอบไปอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่สมเด็จพระนเรศวรฯไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์จึงตรัสตอบโต้เป็นเชิงท้าอยู่ใน ทีว่า “ ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเอาเมืองกันก็ยังได้ ”

จากหนังสือของประยูร ทิศนาคะ : สมเด็จพระนเรศวร ฉบับออกอากาศ, พระนครหอสมุดกลาง 09,2513 ( 10 ) 459 หน้า 64-65ได้บรรยายการชนกันอย่างละเอียดว่า

“ขณะที่ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรกับไก่ของพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดีกำลังชนกันอยู่อย่างทรหด ต่างตัวต่างจิกตีฟาดแข้งแทงเดือยอย่างไม่ลดละ ฝ่ายทางเจ้าของไก่ คือ พระนเรศวรและพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีพร้อมทั้งข้าราชการบริพาร ทั้งหลายที่เสมอนอก ก็เขม็งมองด้วยความตั้งอกตั้งใจและผู้ที่ปากเปราะหน่อย ก็ตีปีกร้องสนับสนุนไก่ข้างฝ่ายเจ้านายฝ่ายของตนเป็นที่สนุกอย่างคาดไม่ถึง ขณะที่ไก่ฟาดแข้งกันอย่างอุตลุดพัลวัน สายตาผู้ดูทุกคู่ต่างก็เอาใจช่วยและแทบว่าจะไปตีแทนไก่ก็ว่าได้คล้ายกับว่า ไก่ชนกันไม่ได้ดังใจตนเมื่อทั้งสองไก่พัวพันกันอยู่พักหนึ่ง ไก่ของพระมหาอุปราชก็มีอันล้มกลิ้งไปต่อหน้าต่อตา ไก่ชนของพระนเรศวรฯกระพือปีกอย่างทระนงและขันเสียงใส พระมหาอุปราชถึงสะอึกสะกดพระทัยไว้ไม่ได้ ”

นับว่าเมืองไทยเรามีไก่ชนที่เก่งมาก จึงทำให้สมเด็จพระนเรศวรฯ เชื่อพระทัยอย่างแน่นอนว่าเมื่อชนต้องชนะไก่พม่า จึงกล้าท้าทายเดิมพันบ้านเมืองกัน พงศาวดารยังกล่าวถึงการตีไก่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในพม่าโดย เฉพาะราชสำนักถือกันว่า“การตี ไก่เป็นกีฬาในวัง” บรรดาเชื้อพระวงศ์จึงนิยมเลี้ยงไก่ชน กันแทบทุกตำหนักจะเห็นได้ว่าการตีไก่เป็นที่โปรดปรานของเชื้อพระวงศ์ในวัง พม่าจึงเชื่อได้ว่าคนไทยสมัยนั้นก็นิยมการตีไก่กันอย่างแพร่หลาย เช่นกัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทน์ เมืองพิษณุโลกสองแคว พระองค์ทรงโปรดปรานการตีไก่มาแต่ทรงเยาว์วัยทรงใฝ่หาความรู้และเสาะหาไก่ เก่งมาเลี้ยงไว้ด้วยเช่นกัน

ไก่ชนไทยเป็นที่รู้จักกันดีและมีชื่อเสียงในทวีปเอเชีย ในด้านความสวยงามและทักษะในการต่อสู้ ไก่ชนไทยมีกำเนิดในทวีปเอเชียตอนใต้พัฒนาจากไก่ป่าสีแดงในแถบอินโดจีน พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย พันธุ์ไก่ชนไทยได้รับการคัดเลือกพันธุ์ ผสมพันธุ์ พัฒนาโดยนักเล่นไก่ชนไทยมากว่า 500 ปี

ในชนบท การเลี้ยงไก่ชนเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีพแทบทุกหมู่บ้าน เลี้ยงปล่อยหลังบ้านเพื่อการนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและเป็นแหล่งอาหารที่ มีรสชาติดี มีคุณภาพ

1. เจ้าเนื้อ ลำตัวยาว หน้าอกกว้าง ปั้นท้ายกว้าง และปั้นขาใหญ่

2. สง่า สีสันสดใส สวยงาม

3. แข็งแรงและทนทานต่อโรค

4. มีลักษณะนิสัยเป็นนักสู้ตามธรรมชาติ ฉลาด มีชั้นเชิง ตีแม่นยำ และมีความอดทนเป็นเลิศ

5. ความสามารถในเชิงกีฬา เป็นการเพิ่มมูลค่า

6. ฟักไข่และเลี้ยงลูกเก่ง

7. คุ้ยเขี่ยหาอาหารกันเก่ง ใช้อาหารจากธรรมชาติเป็นหลัก

8. ชอบกินหนอนและแมลง เป็นสัตว์ช่วยลดปริมาณศัตรูพืช

9. ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

10. เนื้อแน่น รสชาติดี มีไขมันต่ำ และปลอดภัยจากสารพิษ

ประวัติเหลืองหางขาว



ประวัติ ความเป็นมาไก่เหลืองหางขาว

ไก่เหลืองหางขาว คือ ไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ก็นำไก่มาเล่นชนไก่ จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่กระจายกันสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น

ไก่เหลืองหางขาวที่นิยมเป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่บ้านกร่าง บ้านหัวเทจังหวัดพิษณุโลกเพราะไก่พิษณุโลกเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ที่ครั้ง หนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ทรงนำไก่เหลือง หางขาวจากพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองพระราชบิดาของพระองค์ไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา

ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่ฉลาดปราดเปรียว อึด ทน เป็นไก่เชิงแปดกระบวนท่า ไก่เหลืองหางขาวจึงชนะไก่พม่ามาตลอด ครั้งหนึ่งไก่ไทยชนกับไก่พม่าหน้าพระที่นั่ง ไก่เหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตีไก่เหลืองโยดอกหมากหางดำของพระ มหาอุปราชาคอหักล้มลงและแพ้ ทำให้พระมหาอุปราชทรงอับอาย กล่าวแก้ว่า ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงกล่าวตอบโต้ด้วยความภาคภูมิว่า "ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีอย่างกีฬาในวังเหมือนวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเมืองกันก็ยังได้"

จากพระราชดำรัสที่ทรงกล่าวโดยไม่สะทกสะท้านและ มั่นพระทัยในไก่เหลืองหางขาวของพระองค์ ทำให้พระมหาอุปราชาทรงเกรงกลัว หาหนทางกลั่นแกล้งและกำจัด เป็นผลทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ไก่เหลืองหางขาวจึงมีชื่อเสียงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไก่เจ้าเลี้ยง” และ “ไก่พระนเรศวร” ซึ่งปัจจุบันชาวพิษณุโลกมีความภาคภูมิใจ และหวงแหนในสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์นี้มาก จึงมีการอนุรักษ์และพัฒนาไก่สายพันธุ์นี้มาโดยตลอด ในประเทศที่มีกีฬาชนไก่จะรู้จักไก่ไทยเหลืองหางขาวเป็นอย่างดี

แหล่งกำเนิด ไก่เหลือง หางขาว มีถิ่นกำเนิดแถวภาคเหนือของไทย บ้านหัวเท ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแหล่งกำเนิดไก่พันธุ์เหลืองหางขาวพันธุ์ดีสายเลือดแท้ นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป
ประเภท ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัว เพศผู้ 3.00 – 4.00 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.00 กิโลกรัม ขึ้นไป
สีของเปลือกไข่ สีขาวนวล
ลักษณะลูกไก่ หน้าอก ปีกไชนอกมีสีขาว ส่วนปาก และขา สีขาวอมเหลือง

ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูป ร่างลักษณะ ไก่เหลืองหางขาวมีรูปร่างสูงระหง คอยาวสง่างาม และปราดเปรียว ไหล่กว้าง คางรัด อกเป็นมัด กล้ามเนื้อรูปใบโพธิ์ ลำตัวยาวจับ 2 ท่อนบานหัวบานท้าย ไหล่หนาใหญ่ บั้นท้ายโต กระดูกใหญ่ ปั้นขาใหญ่ยาวแข็งแรง แข้งกลมกลึงประดุจลำหวาย หางยาวดกเป็นฟ่อนดูสวยงามยิ่งนัก
  • ตะเกียบ แข็งชิด หนาแข็งแรง ปลายโค้งเข้าหากัน
  • ใบ หน้า แหลมเกลี้ยงเกลาและกลมกลึงแบบหน้าเหยี่ยวหรือหน้านกยูง
  • หาง หางพัดยาว สีดำ และเรียงเป็นระเบียบจากล่างขึ้นบน ข้างละประมาณ 7 เส้น เส้นหางพัดข้างละ 2 เส้นเป็นหางยาวเรียกว่า “หางรับ” หางกระรวยดกก้านหางแข็งยาวพุ่งตรงเป็นฟ่อน ปลายหางโค้งลงเล็กน้อยจรดพื้น หางกระรวยคู่กลางซึ่งเป็นหางเอกจะขาวปลอด หางกระรวยรองจะมีสีขาวปลายดำพุ่งตรงคู่กับกระรวยเอกเป็นฟ่อน กระเบนใหญ่ ขั้วหางชิด
  • ปาก ใหญ่ ปลายปากงองุ้มพองามแบบปากนกแก้ว มีร่องปากลึกทั้ง 2 ข้าง เรียกว่า ร่อน้ำหรือรางน้ำ สีปากขาวอมเหลืองไม่มีสีอื่นปะปน สีปากรับกับสีแข้ง เล็บและเดือย ปากล่าง กรามแข็งแรงรับกับปากบนพอด
  • แข้ง ขา ปั้นขาใหญ่ ล่ำสัน ยาวแบบไม้กระบอง แข้งเล็กเรียวกลมแบบลำหวาย
  • จมูก เด่นชัด รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบสีเดียวกับปาก
  • เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งสีขาวอมเหลืองสีเดียวกับปาก เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วเรียบเป็นระเบียบ
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ดวงตาสีเหลืองอ่อน มองเห็นเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ลูกตากลมมีประกายแจ่มใส ขอบคิ้วนูนเป็นเส้นขนานโค้งตามเบ้าตา ดูสวยงามมาก
  • นิ้ว ยาวกลมปลายเรียวแบบลำเทียน มีท้องปลิง มีปุ่มตรงข้อนิ้วทำให้ยืนได้ดี
  • หงอน เล็กเป็นหงอนหิน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนปิดกดรัดกระหม่อม ผิวหงอนบางเป็นกำมะหยี่ หงอนสีแดงสดใสไม่ล้ม ไม่พับ
  • เดือย เดือยตรง แกนใหญ่ ปลายโค้งงอนปัดไปตามก้อย เดือยสีขาวอมเหลือง รับกับสีแข้งและปาก ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่เดือยงาช้างปลายงอนแบบไปตามก้อยเป็นเดือยแทงปวดเจ็บ ลึก
  • หู ตุ้มหู รูหูกลม มีขนปิดรูสีเดียวกับสร้อย ตุ้มหูรัดตึงไม่หย่อนยาน สีแดง สดในไม่มีสีขาวปน
  • ขน ขนพื้นตัวสั้นแน่น บริเวณหน้าคอถึงหน้าอกจะมองเห็นหนังสีแดง ขนบริเวณใต้ปีก ใต้อกแน่น ขนช่วงท้องเป็นปุย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและระย้าเป็นขนละเอียด ปลายแหลมเส้นเล็ก ก้านแข็ง เป็นแผงสีเหลืองสดใสดังกับสีทองคำ ขนสร้อยคอยาวประบ่าเรียก “สร้อยต่อ หรือ ประบ่า” ขนระย้ายาวประก้นขนสีเหลืองจะมี 3 เฉดสี คือ เหลืองแก่ เรียกเหลืองใหญ่ เหลืองกลางเรียกเหลืองรวกเหลืองอ่อนเรียกเหลืองดอกโสน ขนหางพัดมีสีดำ ขนกระรวยสีขาว
  • เหนียง เหนียงรัดกลมกลึงกับคาง ไม่หย่อนนาน สีแดงสดใสเหมืองสีหงอน กระปุกหางมีขนาดใหญ่
  • กระ โหลก กะโหลกหัวอวบกลมกลึงยาว 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาต
  • กระปุก น้ำมัน เ ป็นกระปุกเดียว
  • คอ คอใหญ่ยาวมั่นคงโค้งไปข้างเล็กน้อย กระดูกปล้องคอถี่ ชิด แน่นร่องคอกับไหล่ชิดกัน ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอยาวประบ่าต่อกับขนสร้อยหลังเล่นสร้อยอยู่ตลอดเวลา
  • กิริยา ท่าทาง ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่สกุลสูง เรียกว่า พญาไก่ เวลาจะยืน เดิน วิ่ง ชน หรือ กระพือปีกและขัน จะแสดงอาการไม่เหมือนไก่พันธุ์อื่นๆ เช่น ยืนข้อขาตรง ตัวตรงปีก ปลายหางจรดพื้น ยืนเต็มเท้า สะพัดคอเล่นสร้อยท่าทางทะมัดทะแมงระวังตัวอยู่ตลอดเวลา เวลาเดินจะย่างเท้าขึ้น แล้วกำนิ้วทั้งหมด เวลาเหยียบเท้าลงจะแบนิ้วทั้งหมด เดินอย่างทหาร เวลาวิ่งจะวิ่งด้วยปลายเท้า เวลาชนจะเขย่งยืนด้วยนิ้ว อุ้งไม่ติดพื้น ย่อขาโผตัวไปข้างหน้าเสมอ ชอบกระพือปีก และตีปีกแรง เสียงดัง ขันกระชากกระชั้น เสียงดังก้องกังวานกว่าไก่พันธุ์อื่นๆ ซึ่งทำให้ไก่อื่นๆ เกรงกลัว เวลาต่อสู้จะแสดงอาการสู้แบบไม่สะทกสะท้านหรือหวาดกลัว เป็นไก่เลี้ยงง่ายเชื่องแสนรู้ต่อเจ้าของ เป็นไก่มงคลตามตำราโบราณเรียก “ไก่พระเจ้าห้าพระองค์” ไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์ หรือไก่เจ้าเลี้ยง ไก่พระนเรศวร ถือเป็นสุดยอดของไก่เหลืองหางขาว
  • ปีก ปีกยาวใหญ่ถึงก้น ปีกเป็นลอนเดียวไม่ห่าง ขนปีกเรียงเป็นระเบียบ ปีกท่อนในสีดำ ปีกท่อนนอกแซมขาวขนสร้อยปีกสีเหลืองเหมือนสร้อยหลังและสร้อยคอ เมื่อหุบปีกจะมองเห็นสีขาวแลบมาเล็กน้อย เมื่อกางปีกจะมีสีขาวช่วงไชปีกนอก

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ไก่เหลืองหางขาวตัวเมีย จะแตกต่างไปจากไก่ตัวเมียพันธุ์อื่น มีลักษณะเด่นประจำพันธุ์ที่สำคัญคือ ขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดหรือบางตัวอาจมีจุดกระขาวอยู่ 5 หย่อมหรือจุด คือ หัวหนึ่ง หัวปีกสอง ข้อขาอีกสองรวมเป็นห้าหย่อมเหมือนตัวผู้ ปาก แข้ง ปุ่มเดือย เล็บ เกล็ด เป็นสีขาวอมเหลืองตลอด แบบสีงาช้าง ปากมีร่องน้ำ 2 ข้าง ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ตาสีเหลืองอ่อนมีเส้นเลือดสีแดงในตาเห็นได้ชัดเจน ตามีประกายแจ่มใสแบบตัวผู้ ปีกในสีดำ ปีกบนนอกไชปีกแซมขาวเหมือนตัวผู้ ลักษณะอื่นๆจะเหมือนๆไก่เหลืองหางขาวตัวผู้

    ไก่เหลืองหางขาว มี 3 เฉดสี คือ
    1. สีเหลืองแก่สดในดังสีทองคำ เรียกเหลืองใหญ่ เป็นพญาไก่ สุดยอดของไก่ทั้งหมดทั้งปวง
    2. สีเหลืองกลางดังสีทองทา เรียกเหลืองรวกหรือเหลืองเวก เป็นรองเหลืองใหญ่
    3. สีเหลืองอ่อนดังสีทองเปลว เรียกเหลืองดอกโสนหรือเหลือง เป็นรองจากเหลืองรวก

    สรุป
    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของไก่ เหลืองหางขาวตัวผู้ รูปร่างสูงระหง ตระหง่าน สง่างาม หน้าแหลมคางรัด หงอนเล็กเป็นหงอนหินกลมกลึง หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ปลายหงอนกดกระหม่อม ตาสีเหลืองอ่อน หรือขาวซีด มีประกายแจ่มใส เรียกตาปลาหมอตาย ปากมีร่องน้ำ สีปาก แข้ง เกล็ด เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองดังสีงาช้าง รับกับตา ผิวหน้าราบเรียบแดงสดใส ขนพื้นตัวสีดำสนิท ขนปิดหู ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้าเป็นสีเหลืองสดใสสีเดียวกัน หางพัดยาวดำ หางกระรวยดำยาว มีสีขาว ปีกในสีดำ ปีกไชนอกแซมขาว ที่สำคัญมีหย่อมกระ 5 หย่อมที่หัว หัวปีก และข้อขา คนโบราณเรียกไก่พระเจ้าห้าพระองค์

    ไก่เหลืองหางขาวที่เป็นไก่งามตาม ตำราโบราณก็คือ “ไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์” ซึ่งเป็นหนึ่งในไก่มงคลโบราณ 5 ประเภท คือ ไก่พระเจ้าห้าพระองค์ ไก่พญาหงส์ ไก่ทรงไตรภพ ไก่จบกระบวนยุทธ และไก่พูดรู้ภาษา ไก่เหลืองหางขาวพระเจ้าห้าพระองค์เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ปัจจุบันสายพันธุ์แท้ๆ ที่มีลักษณะประจำพันธุ์ครบ จะหายากมาก

  • ประวัติไก่เขียว


    ประวัติความเป็นมา ไก่เขียวหางดำ


    เป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ สืบได้ตั้งแต่ต้นสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่พันธุ์หนึ่งมีชั้นเชิงดีมีลำหักลำโค่นดี นิยมเลี้ยงแพร่หลายตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เช่น พระยาพิชัยดาบหัก เลี้ยงไก่เขียวหางดำ ชื่อ ไก่พาลี

    ไก่ เขียวหางดำ ที่นิยมเป็นพันธุ์แท้จะเป็นไก่อุตรดิตถ์ ชลบุรี (พนัสนิคม) อยุธยา และแถบภาคใต้หลายจังหวัด ไก่เขียวหางดำเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ และในวรรณคดีไทย เรื่องพระรถเมรี หรือพระรถเสน หรือนางสิบสอง ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ พระยาพิชัยดาบหักเป็นชาวอุตรดิตถ์ ชอบกีฬาชกมวย ฟันดาบ และชนไก่มาตั้งแต่เด็กๆ เมื่อโตขึ้นได้ร่ำเรียนวิชาการ หนังสือ และวิชาป้องกันตัว คือมวยไทย และฟันดาบและชอบการเลี้ยงไก่ชนโดยเฉพาะไก่เขียวหางดำเป็นไก่ที่มีชั้นเชิง หลายกระบวนท่า มีลำหักลำโค่นดี จะตีคู่ต่อสู้ไม่เกิน 3 อัน เป็นที่เลื่องลือ แม้แต่พระยาพิชัยดาบหักยังยกย่องว่าไก่เขียวหางดำเป็นไก่เทวดา ต่อมาได้เข้ารับราชการรับใช้สมเด็จพระเจ้าตากสิน

    ครั้ง หนึ่งก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่ายกทัพมาล้อมทัพของพระยาพิชัยดาบหัก ได้ทำสงครามสู้รบกันทุกวัน กำลังทหารจึงล้มตายไปจำนวนมาก เสบียงอาหารก็ร่อยหรอ เห็นว่าถ้าขืนปล่อยให้พม่าล้อมไว้อย่างนี้คงต้องพังแน่ ก็เลยออกกลอุบายให้พักรบ 1 วัน ให้ทหารไปมาหาสู่กันนอกค่ายและจัดให้มีการชกมวย ชนไก่ ถ้าฝ่ายไทยชกมวยแพ้ ชนไก่แพ้ จะยอมให้ยึดค่าย แต่ถ้าฝ่ายพม่าแพ้ก็ให้เลิกทัพกลับไป พม่าหลงกลก็ยอมพระยาพิชัยฯ ให้ศิษย์เอกมวยไทยชกกับพม่า พม่าแพ้ และเอาไก่เขียวหางดำเป็นเหล่าพันธุ์ที่พระยาพิชัยฯ นิยมไปชนกับพม่า ไก่พระยาพิชัยฯ ชนะ พม่าต้องเลิกทัพกลับไป จึงเป็นการรักษาค่ายและชีวิตทหารเอาไว้ได้

    ไก่ เขียวเกี่ยวข้องกับวรรณคดีไทย คือ ในเรื่องพระรถเมรี หรือนางสิบสอง พระรถเสนมีแม่และป้าตาบอดถึง 12 คน ถูกขังไว้ในถ้ำอดข้าวอดน้ำ พระรถเสนจึงต้องออกหาอาหารและน้ำมาเลี้ยงแม่และป้าทุกวัน เดือดร้อนถึงพระอินทร์สงสาร จึงมอบไก่แก่พระรถเสนให้นำไปชนพนันเอาข้าว 12 ห่อ มาให้แม่และป้ากิน

    แหล่งกำเนิด
    ไก่เขียว หางดำมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของไทย ไก่เขียวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น แถบภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี (พนัสนิคม) เรียก “เขียวพระรถ” ในภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เรียก “เขียวพาลี” ส่วนภาคกลาง เรียก “เขียวพระยาพิชัยดาบหัก” และภาคใต้ เรียก “เขียวมรกต” และยังมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น เขียวไข่กา, เขียวพระอินทร์, เขียวนิลสาริกา ไก่พันธุ์เขียวหางดำ ปัจจุบันค่อนข้างหายาก กำลังอนุรักษ์และพัฒนากันต่อไป
    ประเภท ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ย เพศผู้หนัก 3.00 กิโลกรัมขึ้นไป เพศเมียประมาณ 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป
    สีของเปลือกไข่ สีน้ำตาลนวล
    ลักษณะลูกไก่ หัว หน้าอก ปีกไชนอกสีขาวเล็กน้อยคล้ายประดู่หางดำ ปาก แข้ง สีเขียวอมดำ หรือน้ำตาลอมดำ

    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูปร่างลักษณะ
  • ไก่ เขียวแมลงภู่หางดำ มีรูปร่างเพรียวยาวสูงระหง ทรงพญาหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยกกระเบนหางรัด หางสวยงามทรงฟ่อนข้าวหรือพลูจับ ก้านหางแข็ง ปั้นขาใหญ่กลมเรียกแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบนกยูงหรือกา ยืนเหยียดขาตรงชูคอเล่นสร้อยตลอดเวลา

  • คอ
  • คอ ใหญ่ปานกลาง ยาวระหง กระดูกปล้องคอชิดแน่น ลำคอโค้งเป็นรูปเคียว ขนสร้อยคอขึ้นเรียบเป็นระเบียบ
  • ใบหน้า
  • ใบ หน้ากลมยาว ผิวเรียบแบบหน้ากาหรือนกยูง
  • ปีก
  • ปีก ยาว สนับปีกใหญ่ ปีกเป็นลอนเดียว สีดำ สร้อยปีกสีเขียวอมดำ
  • ปาก
  • ปาก ใหญ่ ปลายปากงอเล็กน้อย มีร่องปากหรือร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง ปากสีเขียวอมดำ สีรับกันกับสีแข้ง เล็บ และเดือย ปากบนใหญ่กว่าปากล่างหุบปิดสนิท ไม่มีร่องโหว่ เง่าปากใหญ่และแข็งแรง
  • ตะเกียบแข็งแรง ชิด และตรง
    จมูก
    รูจมูกกว้างยาวเป็นแนวตามปาก สันจมูกเรียบไม่เผยอ สีเดียวกับปาก
    หาง หางพัดและหางกระรวยสีดำสนิท หางพัดเรียงกันเป็นแนวจากล่างขึ้นบนตามลำดับ หางกระรวยดก ยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางแข็ง ปลายหางชี้ตรง กระเบนหางคอดรัดขั้วหางใหญ่และชิด กระปุกน้ำมันเดี่ยว
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี คิ้วนูนเรียบตามเบ้าตา ดวงตาสีเขียวอมดำ สีเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ลูกตามีประกายแจ่มใส
  • แข้ง ขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวแบบลำหวาย ข้อขาตรง หนังปั้นขาออกสีชมพู ขนปั้นขาสีดำ
  • หงอน หงอนเป็นหงอนหิน มีแฉกเล็กๆ 2 ข้าง ผิวหงอนเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดรัดกระหม่อม ไม่พับไม่ล้ม
  • เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีเขียวอมดำรับกับสีปาก เกล็ดเรียบเป็นแถวเป็นแนวยาวปัดตลอด มักมีเกล็ดพิฆาต เช่น กากบาท นาคราช เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ผลาญศัตรู งูจงอาง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
  • ตุ้มหู ตุ้มหูรัดรึง ไม่หย่อนยาน สีแดงเหมือนสีหงอน รูหูกลม มีขนปิดหูสีเขียวอมดำเหมือนขนสร้อย
  • นิ้ว นิ้วเรียวยาว ปุ่มนิ้วหรือตัวปลิงแน่น เกล็ดนิ้วมักแตกเป็นลักษณะต่างๆ เกล็ด เล็บ เดือย มีสีเขียวอมดำรับกับแข้งและปาก
  • หนี ยง เหนียงเล็กรัดติดกับคาง สีแดงเหมือนสีหงอน
  • เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่นและงาช้าง เดือยแหลมคม สีเดียวกับแข้งหรือปาก
  • กระโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน ส่วนหน้ายาวเล็กกว่าส่วนท้าย เห็นรอยไขหัวที่กะโหลกชัดเจน
  • ขน ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ท้อง ใต้ปีก สีดำตลอด ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้า สีเขียวอมดำแบบสีแมลงภู่ ก้านขนแข็งเหนียว ไม่เปราะหรือหักง่าย

    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    เป็นไก่ทรงยาวจับ 2 ท่อน คอยาวลอนเดียว ขนพื้นตัว ขนหาง ทั้งหมดเป็นสีดำ ขนคอ ขนหลัง ปลายขน เป็นสีเขียวอมดำเล็กน้อยตามสีตัวผู้ จะเป็นเขียวอะไรก็ให้สังเกตที่ปลายขนสร้อยคอจะออกสีเขียวเล็กน้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย ตา สีเขียวอมดำ ยกเว้นเขียวนิลสาริกา และเขียวแมลงทับ ปาก แข้ง เล็บ เดือย จะมีสีขาว จาสีขาวปลาหมอตาย

    สรุป
    ไก่เขียวหางดำ เป็นไก่ที่งดงาม ทรงเพรียวระหง ขนพื้นตัว ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังเป็นสีเขียวอมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย เป็นสีเขียวอมดำ



    ประวัติความเป็นมา ไก่เขียว เลาหางขาว

    เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้จากในสมัยอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาสมุหกลาโหมกำแพงเพชร นิยมไก่เขียวเลาหางขาว และสืบทอดมาถึงปัจจุบันซึ่งขาวกำแพงเพชรได้อนุรักษ์ไว้เป็นไก่ประจำจังหวัด

    แห ล่งกำเนิด มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอีกหลายจังหวัดในประเทศไทย
    ประเภท เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนัก เพศผู้โดยเฉลี่ย 3.00-4.00 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป
    สี ของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีขาวอมน้ำตาล
    ลักษณะ ลูกไก่ หัวขาว หน้าคอและหน้าอกสีขาว สันหลังดำ ปีกในดำ ไชปีกนอกขาว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองอมน้ำตาล ตาสีขาวอมเหลือง

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้
    รูปร่างลักษณะ เป็นไก่ทรงปลีกล้วย ไหล่หนาใหญ่ ลำตัวกลมยาว หางยาว ท่าทางสง่างาม ทะมัดทะแมง

  • ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็งหนาและตรงชิด
  • ใบหน้า ใบหน้ากลมกลึงแบบหน้านกยูง
  • หาง หางพัดสีดำ หางกระรวยสีขาวปนดำ กระรวยคู่กลางจะมีสีขาวปลอด คู่อื่นๆ จะสีขาวปลายดำ
  • ปาก ปากใหญ่มีร่องน้ำสองข้าง ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ปากสีขาวอมเหลือง หรือขาวงาช้าง
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวกลมท้องแข็งนูนและมีสีขาวอมเหลืองเป็นรูปลำเทียน หรือลำหวายเกล็ดแข้งเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
  • จมูก จมูกแบนราบ สีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
  • เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียบเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตา สองชั้น ดวงตาสีขาวอมเหลืองเป็นประกาย
  • นิ้ว เรียวยาว ข้อนิ้ว มีท้องปลิงหนา
  • หงอน หงอนเล็ก เป็นหงอนหิน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดกระหม่อม สีแดงสดใส
  • เดือย เดือยเป็นแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง
  • เหนียง เหนียงรัดติดคางไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนสีหงอน
  • ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีกหางสีดำ ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ
  • กระ โหลก กะโหลกหัวยาว สองตอน มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาติ
  • เล็บ มั่นคง สีเดียวกับเกล็ด แข้ง และ ปาก
  • คอ คอใหญ่ โค้งลอนเดียว แบบคอม้า คองูเห่า กระดูกปล้องคอชิด ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอประบ่า
  • สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลา คือขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายสีเขียว บางชนิดปลายสร้อยขลิบทองหรือมีขนขาวขึ้นแซม หรือปลายสร้อยมีจุด
  • ปีก ปีกยาวเป็น ลอนเดียวไม่โหว่ ไม่รั่ว ไม่ห่าง ขนปีกสีดำสนิท สร้อยคอสร้อยปีก สีเขียวเลา
  • กระปุก น้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่ปลายเดียว

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์ คือ ปาก แข้ง เล็บ มีสีขาวอมเหลือง ขนลำตัวสีดำ ปลายขนปีกสีขาว

    ไก่เขียวเลาหางขาว มี 3 สายพันธุ์
    1. เขียวเลาใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ เป็น สุดยอดของไก่เขียวเลาหางขาว ศักดิ์ศรี พอๆ กับไก่เหลืองหางขาวพระเจ้า 5 พระองค์ ตัวนี้จัดเป็นพวกเดียวกับไก่พระยาสมุหกลาโหมกำแพงเพชร ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเขียวเลา คือขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายมีสีเขียวอมดำแบบเขียวแมลงภู่ ขนปีกท่อนในสีดำ ท่อนนอกตอนชายปีกสีขาวแซม หางพัดสีดำ หางกระรวยคู่เอกสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีขาวอมเหลือง ที่หัว หัวปีก 2 ข้างและข้อขา 2 ข้างมีจุดกระประแป้งสีขาว อยู่เป็นหย่อมประปราย เรียกพระเจ้า 5 พระองค์ แบบไก่เหลืองหางขาวถือเป็นไก่สกุลสูงอีกชนิดหนึ่ง

    2. ไก่เขียวเลาเล็กหางขาว รองจาก ไก่เขียวเลาใหญ่หางขาว ขนพื้นสีดำ ขนปีกขนหางพัดสีดำ หางกระรวยสีขาวปนดำ กระรวยคู่กลางขาวปลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลาขาวแซม คือ โคนขนสีขาวปลายเขียว และมีขนขาวขึ้นแซมประกาย ตาสีขาวอมเหลืองไม่มีหย่อมกระประแป้งแบบพระเจ้า 5 พระองค์ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองแบบเขียวเลาใหญ่

    3. ไก่เขียวเลาดอกหางขาว รองจาก เขียวเลาเล็ก เขียวดอกเลาหางขาวมีลักษณะอื่นๆ เหมือนเขียวเลาเล็กหางขาว ต่างกันตรงสีประกายสร้อยซึ่งจะเป็นสีเขียวอมน้ำตาล

  • ประวัติไก่เทา


    ประวัติความเป็นมาไก่เทาหางขาว

    ไก่เทา หรือไก่สีเทา เป็นไก่พื้นเมืองไทยมาแต่โบราณ เริ่มแต่สุโขทัยเป็นต้นมา ไก่เทาเป็นไก่ชั้นเชิงดีพันธุ์หนึ่งของไทย มีลำหักลำโค่นใกล้เคียงกับไก่เขียวหางดำ นิยมเลี้ยงกันโดยทั่วๆ ไป จากชาวบ้านจนถึงขุนนาง พระยา เช่น หลวงเมืองตาก เลี้ยงไก่โทนเถ้าเป็นไก่เทาทอง หรือเทาเหลือง บางคนเรียก “เทาฤาษี”

    ใน สมัยอยุธยาตอนปลาย ครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังทรงเป็นเจ้าเมืองตาก ได้ทรงทอดพระเนตรและทรงเป็นกรรมการชนไก่ ระหว่างไก่เขียวพาลีของพระยาพิชัยดาบหักกับไก่โทนเถ้าของหลวงเมืองตากหรือ พระยาพระคลัง ไก่โทนเถ้าที่ว่านี้เป็นไก่สีเทาทองคำ หรือเทาเหลือง เป็นไก่เก่งมีชั้นเชิง มีลำหักลำโค่นชนชนะไก่มาแล้วหลายตัว จนเป็นที่เลื่องลือในเมืองตาก และไม่มีใครจะชนด้วย

    หลวง เมืองตากเคยชนไก่กับพระยาพิชัยดาบหัก แต่แพ้ไก่ของพระยาพิชัยดาบหักทุกครั้ง ครั้งนี้หลวงเมืองตากได้ไก่โทนเถ้ามาคิดจะแก้มือจึงไปท้าพระยาพิชัยชน เดิมพันกันโดยไม่ต้องเปรียบตัวกันแบบชนิดคลุมโปงตีกันเลย พระยาพิชัยชนะไก่อื่นมามากและชนะไม่เกินอันสาม ครั้นถึงวัน เมื่อปล่อยไก่ ไก่โทนเถ้าได้เปรียบใหญ่กว่าไก่พาลี ได้ทีก็ขี่ทับ ตีที่แสกหน้าและท้ายเสนียดและคอเชือด ทำให้ไก่พาลีเจ็บปวดมาก ต้องออกวิ่งล่อแทบจะแพ้ ไก่โทนเถ้าเป็นต่อไก่พาลีหลายขุม ขณะไก่โทนเถ้าชักและล้มลง พอได้สติลุกขึ้น เป็นจังหวะที่ไก่พาลีตีซ้ำไปถูกแถวคอเชือดถึงหลอดลมขาดถึงแก่ความตาย ถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุเสียก่อนคิดว่าไก่โทนเถ้าน่าจะชนะ

    แหล่งกำเนิด ไก่เทา มีแหล่งกำเนินทั่วไปของประเทศไทย แหล่งกำเนิดไก่เทาที่มีชื่อเสียง เช่น จังหวัดตาก ชลบุรี (อ.พนัสนิคม) เพชรบุรี (อ.บ้านแหลม) ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะพบที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ นครราชสีมา และอุบลราชธานี เป็นต้น
    ประเภท ไก่เทา เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักเพศผู้หนัก 3.00 กิโลกรัมขึ้นไป เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป
    สี ของเปลือกไข่ สีขาวนวล
    ลักษณะลูกไก่ มีขนลำตัวสีเทาอ่อน ขนหัว หน้าอก ปีกไชสีขาวอมเหลือง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองคล้ายลูกไก่เหลืองหางขาว

  • สายพันธุ์ไก่ เทาหางขาว มีอยู่ 6 พันธุ์ คือ

  • 1. ไก่เทาทองคำหรือเทาฤาษี เป็นไก่เทายอด นิยมอันดับหนึ่งเหนือไก่เทาอื่นใด ไก่เทาทองหรือเทาเหลืองที่โด่งดัง เป็นไก่โทนเถ้าของหลวงเมืองตาก ชนชนะไก่มากมายดังกล่าวข้างต้น

  • ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์
  • เทาทองคำ คือ ขนพื้นลำตัวสีเทาอ่อน แบบขี้เถ้าฟืน ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแบบสีพื้นลำตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนระย้าสีเหลืองทองแบบเหลืองหางขาว ขนหางกระรวยโคนเทาปลายขาว หรือกระรวยคู่กลางขาวปลอด ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองรับกัน ขนปิดหูสีเหลืองทองตาหลาหมอตาย คล้ายไก่เหลืองหางขาวมาก

    2. ไก่เทาทองแดง เป็นไก่เทาอันดับสองรองจากไก่เทาทองคำ


  • ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
  • เทาแดง หรือเทาทองแดง ขนพื้นลำตัวสีเทาแก่ ก้านขนจะแดง ขนปีกขนหางพัดสีเทาแก่ ขลิบขนและก้านขนแดง หางกระรวย สีเทาปลายขาว ก้านขนแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้าสีทองแดง คล้ายไก่ทองแดงหางดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมแดง ขอบเกล็ดสีแดงจะออกเข้มกว่ากลางเกล็ด ขนปิดหูสีแดงแบบสีสร้อย ตาสีแดง

    3. ไก่เทาสวาด เป็นไก่เทา อันดับสามรองจากเทาทองแดง


  • ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
  • เทาสวาด ขนพื้นลำตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแบบลูกกวาด หรือแบบสีเรือรบ หางกระรวยสีโคน ขนสีสวาด ปลายขนสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า ขนปิดหู สีเทาสวาดเข้มกว่าสีพื้นตัว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ขอบเกล็ดสีเทา ตาสีเหลืองไพล

    4. ไก่เทาหม้อ เป็นไก่เทา อับดับ 4 รองจากเทาทองสวาด


  • ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
  • เทาหม้อ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ หางกระรวยสีเทาปลายขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีเทาแก่แบบสีมะขามไหม้ ขนปิดหูสีเดียวกับสร้อย หาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง

    5. ไก่เทาขี้เถ้า เป็นไก่ เทาอับดับ 5 รองจากเทาหม้อ


  • ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
  • เทาขี้เถ้า ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาอ่อนแบบสีขี้เถ้า ฟืน หรือสีนกพิราบ หางกระรวยโคนขนสีเทา ปลายขนขาวค่อนข้างมาก ขนปิดหูสีเทาอ่อน ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีเทาอ่อน ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ตาสีขาวขุ่นแบบควันไฟ

    6. ไก่เทาขี้ควาย เป็นไก่เทา อันดับ 6 รองจากเทาขี้เถ้า


  • ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
  • เทาขี้ควาย ขนพื้นลำตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ หางกระรวยสีเทาแซมขาวเล็กน้อย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีดำ ตาสีคล้ำดำ

    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูปร่าง ลักษณะ ไก่เทามีรูปร่าง ลักษณะ 2 อย่าง อย่างหนึ่ง รูปร่างเพรียวบางยาวระหง อีกลักษณะหนึ่งล่ำเตี้ย รูปหัวปลีและเบี้ยจั่น ลำตัวกลมหางยาวทรงฟ่อนข้าวและทรงหางม้า
  • ปีก ปีกใหญ่และยาว เป็นปีกตอนเดียวไม่ห่าง ไม่โหว่ ปีกสีเทาเหมือนขนพื้นลำตัวสร้อย หัวปีกสีเดียวกับสร้อยหลังและสร้อยคอ
  • ใบหน้า กลมกลึงหน้าแบบหน้านกหน้ากา
  • ตะเกียบ ตะเกียบก้นชิด ตรง
  • ปาก ปากใหญ่ยาว ปลายปากงองุ้ม มีร่องปากหรือร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง ปากสีขาวอมเหลือง สีรับกับสีแข้ง เล็บและเดือย
  • หาง หางพัดยาวเรียบสีเทาเช่นเดียวกับขนพื้นลำตัวหรือปีก หางกระรวยสีขาวปนเทา หางทรงฟ่อนข้าว พลูจีบ หรือหางม้า ขั้วหางใหญ่ มีกระปุกน้ำมันใหญ่และอันเดียว
  • จมูก รูจมูกโปร่งกว้าง สันจมูกเรียบติดกับปาก สีเดียวกับปาก
  • แข้ง ขา ปั้นขาใหญ่ กลมกลึง แข้งเรียวกลมกลึงแบบลำหวาย แข้งสีเดียวกับปาก ขนปั้นขาสีเทา
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี ขอบตาสองขั้น ดวงตาแจ่มใส สีขาวอมเหลือง มีเส้นเลือดในตาขาวเด่นชัด
  • เกล็ด เกล็ดแข้งสีขาวอมเหลืองรับกับสีปาก เกล็ดเรียงเป็นระเบียบแบบ 2 แถว จะมีเกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บ ไชบาดาล และอื่นๆ
  • หงอน เป็นหงอนหิน หรือหงอน 3 แฉก หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกดรัดกระหม่อม
  • นิ้ว นิ้วเรียวยาว ปุ่มนิ้วมีตัวปลิง เกล็ดนิ้วมักแตกหรือแซม เล็บนิ้วจะสีเดียวกับนิ้วหรือปากแข้ง
  • หู ตุ้มหู ตุ้มหูรัด ไม่หย่อยยาน รูหูมีขนสีเดียวกับสร้อยปิดอยู่
  • เดือย เดือยแหลมคม แบบเดือยงาช้าง ฐานเดือยจะมั่นคง
  • เหนียง เหนียงรัดรึงติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีเดียวกับหงอน
  • เขน ขนพื้นฐานลำตัวสีเทาตามพันธุ์ ขนปีก ขนหางพัด มีสีเทา ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าสีเดียวกันตามพันธุ์ เช่น ดำ ประดู่ ขี้เถ้า ทองแดง และเหลืองทอง
  • กระโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน ตอนหน้าเรียวยาว เล็กกว่าท่อนหลัง มีรอยไขหัวกลางกะโหลก
  • กริยาท่าทาง เป็นไก่ที่สง่างามอีกพันธุ์หนึ่ง ยืน เดิน ทะมัดทะแมง ยืนตัวตรง กระพือปีกตลอดเวลา มีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า
  • คอ คอยาวรูปเคียว ปล้องคอชิดแน่น สร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบสีเดียวกับสร้อยหัวปีกสร้อยคอและสร้อยหลัง

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ไก่เทาเพศเมีย มีรูปร่างลักษณะเพรียวบางสูงยาวระหง คอรัด คางรัด หน้าแหลมกลมกลึงแบบหน้านก ลำตัวยาวกลมจับยาว 2 ท่อน ขนพื้นลำตัวและขนหลังเส้นเล็กละเอียดเรียงกันเป็นระเบียบ กระเบน หางรัด สีขนพื้นลำตัว ขนหลัง ขนปีก ขนหาง และขนคอเป็นสีเทาเหมือนกันทั้งตัว สีจะแก่-อ่อนต่างกันตามสายพันธุ์เหมือนขนพื้นลำตัวของตัวผู้ ส่วนที่แตกต่างกันเห็นได้ชัด คือ ขนสร้อยคอจะมีขลิบสีไปตามพันธุ์เหมือนขนสร้อยคอตัวผู้ เช่น เทาทองคำจะมีขลิบสีเหลือง เทาทองแดงจะมีขนขลิบสีแดง เทาสวาดหรือเทาเรือรบจะมีขนขลิบสีเทา เทาหม้อหรือเทาประดู่จะมีขนขลิบสีประดู่ เทาขี้เถ้าหรือเทายวงหรือเทานกพิราบจะมีขนขลิบสีขาว เทาสีดำสีตาจะเหมือนตัวผู้ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองและแดงเหมือนตัวผู้เช่นกัน

  • ประวัติไก่ดู่หางดำ



    ประวัติความเป็นมาไก่ประดู่หางดำ
    ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่พื้นเมืองของไทยมาแต่โบราณ พัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์ กะตังอู หรือ ไก่อู มีมาพร้อมไก่เหลืองหางขาวและคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่หลายมาในหมู่ขุนนาง เจ้าขุนมูลนาย และต่อมาได้พัฒนามาเป็นกีฬาพระราชา เช่น สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเอกาทศรถ พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น

    ไก่ ประดู่หางดำ ที่นิยมเป็นพันธุ์ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ฉะเชิงเทรา มีนบุรี หนองจอก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดไก่ประดู่หางดำชั้นดี

    ไก่ ประดู่หางดำโด่งดังครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว) ได้ทรงนำไก่ประดู่หางดำ จากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพาร ทรงชนะตลอด ทำให้ไก่ประดู่หางดำโด่งดังไม่น้อยไปกว่าเหลืองหางขาว บางตำราบอกว่า ไก่ประดู่หางดำ เป็นต้นตระกูลสายพันธุ์ไก่อื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์ในประเทศไทย

    ไก่ ประดู่หางดำ เป็นไก่มีลักษณะงดงามมาก ชั้นเชิงการชนเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวนท่า ขี่ กอด ทับ เท้าบ่า หรือบางทีมีมัดปีกด้วย

    แห ล่งกำเนิด ไก่พันธุ์ประดู่หางดำ มีถิ่นกำเนิดแถบภาคกลางของไทย เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ (มีนบุรี หนองจอก) สิงห์บุรี และอ่างทอง เป็นแหล่งกำเนินไก่ประดู่หางดำชั้นดี นอกจากนี้ยังมีแถบจังหวัดใกล้เคียง ปัจจุบันนิยมเลี้ยงแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย และต่างประเทศในแถบอาเซียน เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน เป็นต้น
    ประเภท ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัวเพศผู้ประมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป เพศเมียหนัก 2 กิโลกรัม ขึ้นไป
    สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน
    ลักษณะ ลูกไก่ หัว หน้าอก ปีกไชนอกสีขาวนวล ปาก ขา สีน้ำตาลแก่

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูป ร่างลักษณะ ไก่ประดู่หางดำ เป็นไก่มีลักษณะงดงามทรงรูปปลีกล้วย ไหล่กว้าง ลำตัวยาวล่ำสัน หางยาวเป็นฟ่อนจรดพื้น ปั้นขาใหญ่ แข้งเป็นแข้งคัดออกเหลี่ยม ดูสง่างาม ทะมัดทะแมง น่าเกรงขามยิ่งนัก ตะเกียบ หนา แข็งแรง และชิด ปลายโค้งเข้าหากันเล็กน้อย
  • ใบ หน้า กลมกลึงแบบหน้านกยูง และมีสีแดง
  • หาง หางพัดสีดำสนิทยาว และเรียงกันเป็นระเบียบจากล่างไปบน สองข้างเท่าๆ กัน มีหางรับข้างละ 2-3 เส้น กระเบนหางใหญ่ ขั้วหางชิด กระปุกน้ำมันใหญ่ เป็นกระปุกเดี่ยว
  • ปาก ปากใหญ่ ปลายงองุ้มเหมือนปากนกแก้ว ปากบนรับกับปากล่าง หุบสนิทพอดี มีร่องปากทั้ง 2 ข้าง ปากสีน้ำตาลแก่ สีปากจะรับกับสีแข้ง และเดือย
  • แข้ง ขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวแบบลำหวาย หรือแข้งคัด
  • จมูก รูจมูกกว้าง สันจมูกราบเรียบ สีเดียวกับปาก
  • เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีน้ำตาลรับกับสีปาก เกล็ดแข้งเป็นเกล็ดพัดเรียงเป็นระเบียบ
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี ดวงตาสีไพลแก่ มองเห็นเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน ลูกตามีประกายแจ่มใส คิ้วนูนเป็นเส้นขนานโค้งไปตามเบ้าตา
  • นิ้ว นิ้วยาวกลม ปลายนิ้วเรียวมีท้องปลิงปุ่มตรงข้อนิ้ว เกล็ดนิ้วมีแตก แซมเหน็บเล็บสีน้ำตาลรับกับสีปาก ไม่บิดไม่งอ ปลายเล็กแหลมคมแบบเล็บเหยี่ยว
  • เหนียง เหนียงรัดกลมกลึงติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนสีของหงอน
  • เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่น เดือยตรงโคนใหญ่ปลายแหลมคมแบบเดือยลูกปืน สีเดียวกับปากและแข้ง
  • กะโหลก กะโหลกหัวอวบยาว 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอยไขหัวชัดเจนตามธรรมชาติ
  • ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนสั้นแน่น บริเวณหน้าคอถึงหน้าอกจะมองเห็นหนังสีแดง ขนใต้ปีก ใต้อกแน่น ช่วงท้องเป็นปุย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าเป็นขนละเอียด ก้านขนแข็งเล็กเป็นแผงสีประดู่ สยายประบ่าประก้น
  • คอ คอใหญ่ ยาวโค้งลอนเดียวแบบคองูเห่า กระดูกปล้องคอใหญ่ชิดแน่น ร่องคอชิดกับไหล่ ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอยาวประบ่าต่อกับสร้อยหลัง
  • กิริยา ท่าทาง ไก่ประดู่หางดำเป็นไก่สกุลเดียวกับเหลืองหางขาว เวลายีน เดิน วิ่ง ชน กระพือปีกและขัน จะแสดงอาการหยิ่งผยอง ยืนตรง อกตั้ง ทะมัดทะแมง เดินย่างเท้าแบบสามขุม เหยียบเท้ามั่นคง เวลายืนจะกางปีก และกระพือปีกตลอดเวลา เวลาพบไก่อื่นจะแสดงอาการพร้อมที่จะต่อสู้ทันที โดยไม่สะทกสะท้าน จะเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวนท่า คือ กอด ขี่ ทับ เท้าบ่า และหน้าคอ

    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีกสีดำ ยาวถึงก้นเป็นปีกตอนเดียว ขนคอจะมีสีประดู่แซมปลายเล็กน้อย ขนสั้นละเอียด หางยาวดำสนิท ปากมั่นคง มีร่องน้ำ ปาก แข้ง เล็บ ปุ่ม เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล ถ้าประดู่แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ ปุ่มเดือย สีเขียวหยก ตาลายดำ ลักษณะอื่นๆ เหมือนตัวผู้

    ไก่ประดู่หางดำ แบ่งตามสายพันธุ์มี 3 สายพันธุ์ คือ

  • 1. ประดู่เมล็ดมะขาม หรือประดู่มะขามคั่ว ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวย สีดำสนิท ไม่มีสีขาว หรือสีอื่นๆ แซม ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยระย้า และขนปิดหูสีประดู่สีเดียวกันทั้งตัวไม่มีสีขนอื่นๆ แซม เช่นกัน ตาสีไพลหรือแดง ปาก เกล็ด แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลแก่ หน้าสีแดง ถือว่าเป็นเอกเหนือประดู่อย่างอื่นๆ ทั้งสิ้น เป็นประดู่พันธุ์แท้แต่โบราณ พันธุ์ยอดนิยมมี 2 เฉดสี คือ
  • สรุป
    ไก่ประดู่หางดำ แต่เดิมเป็นไก่ที่ลักษณะงดงามมาก ชั้นเชิงการชนเป็นไก่เชิงบน 4 กระบวนท่า ตัวผู้รูปร่างสูงตระหง่าน สง่างาม ลำตัวตั้งทอดยาวสองท่อ ใบหน้ากลมกลึง ตาสีไพล ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลแก่ หรือมะขามไหม้ หรือมะขามคั่ว หางพัดสีดำสนิท ยาวเรียงเป็นระเบียบ หางกระรวยสีดำสนิทรูปใบข้าว ขึ้นดำยาวเป็นฟ่อนรูปพลูจีบ ปลายโค้งลงเล็กน้อย ลักษณะอย่างนี้ถือว่าเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ ต่อมาไม่ได้รักษาพันธุ์ หรืออนุรักษ์ไว้ เลยกลายพันธ์ไป เท่าที่พบเห็นปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังกล่าวข้างต้น



    ประวัติความเป็นมา ประดู่เลาหางขาว
    ยังไม่ ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดใน ประวัติศาสตร์

    แห ล่งกำเนิด ไก่ประดู่เลาหางขาวมีแหล่งกำเนินแถบจังหวัดกรุงเทพฯ (มีนบุรี หนองจอก) พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช
    ประเภท เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัวเพศผู้ประมาณ 3.00-3.40 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป
    สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน
    ลักษณะลูกไก่ ขนหัว และขนคอสีขาว ขนหลังสีดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอและหน้าท้องสีขาว

    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • เป็น ไก่รูปร่างแบบทรงหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยก หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว เดินยืนท่าทางสง่างาม แข้งกลมแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบหน้านก

  • กะโหลก หัวยาวกลมเป็น 2 ตอน ท่อนหน้าเล็กกว่าท่อนหลัง

  • กลม กลึง หน้าแบบหน้านกเหยี่ยว

  • คอ ยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดกันขนสร้อยคอสีประดู่เลาขึ้นดกเป็นระเบียบ

  • ปาก ใหญ่ ปลายปากงุ้มสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง สีน้ำตาลอ่อน

  • ปีก ใหญ่และยาว จรดก้น ขนปีกท่อนในขาวปนดำ

  • จมูก แบนราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบสีเดียวกับปาก

  • ตะเกียบ แข็ง ตรง หนา และชิดกัน

  • ขอบ ตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตาสองชั้นนัยน์ตาดำตารอบนอกสีเหลืองแก่เหมือนสีไพลเส้นเลือดสีแดงชัดเจน

  • หาง ยาวดก เรียงเป็นระเบียบสีขาวอมดำ หางพัดดำปลายขาว หางกระรวยคู่กลางสีขาวปลอดคู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ หางดกเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางสีเดียวกับขน

  • หน้า หงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกะรัดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ

  • ปั้น ขาใหญ่ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาสีดำเป็นแข้งรูปลำเทียน หรือ ลำหวาย เกล็ดแข้งเป็นระเบียบ นิ้วเรียวยาว แข้งสีเดียวกับปาก

  • ตุ้มหู ไม่ยาน สีแดงเหมือนหงอน ขนปิดรูหูสีประดู่เลาเหมือนขนสร้อย

  • เกล็ด นิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก

  • เหนียง เล็ก สีแดงเหมือนหงอน รัดติดกับคาง

  • นิ้ว เรียวยาว ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา

  • ขน พื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดมีสีขาวปนดำ ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่

  • เดือย เป็นเดือยแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง

  • เป็น กระปุกใหญ่อันเดียว

    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ที่ สำคัญ คือ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีกสีดำ ยาวถึงกันเป็นปีกตอนเดียว ขนคอจะสั้น ละเอียด หางยาวดำสนิท ปาก แข้ง เล็บ มีสีน้ำตาลอมเหลือง

    ไก่ประดู่เลาหางขาวมีอยู่ 4 เฉดสี คือ
    1. ประดู่เลาใหญ่ หรือเรียก อีกชื่อว่า เลาใหญ่ พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางเป็นสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนระย้าโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเมล็ดมะขามแก่ ขนกระรวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ที่หัว ปีก ข้อขาสีกระขาว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล

    www.kaisiam.com

    2. ประดู่เลาเล็ก ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเมล็ดมะขามแก่ ไม่มีหย่อมกระ ขนกระรวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล

    3. ประดู่เลาแดง ขนพื้นลำ ตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่แดง ขนกระรวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆ สีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพลหรือสีส้ม

    4. ประดู่เลาดำ ขนพื้นลำ ตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีคล้ำเข้มแบบเขียวประดู่ ขนกระรวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ ขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล

  • ประวัติไก่ขาวไก่ชี



    ประวัติความเป็นมาไก่ขาวไก่ชี

    เป็นไก่ขน สีขาวปลอดทั้งตัว เข้าใจว่าเกิดจากการกลายพันธุ์จากไก่พื้นเมืองไทยเลาหางขาว เมื่อนำพ่อพันธุ์ขนสีขาวผสมกับแม่พันธุ์ขนสีขาว ลูกที่ได้ขนสีขาวสวยงาม เป็นไก่พื้นเมืองไทยที่เรียกขานกันว่า “ไก่ชี” ไม่ปรากฏว่าเป็นไก่ที่สำคัญของบุคคลใดในประวัติศาสตร์

    แห ล่งกำเนิด พบได้ทั่วไปทั้งบริเวณภาคเหนือตอนล่างแถบจังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย ภาคกลางแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี เพชรบุรี และภาคตะวันออกแถบจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ระยอง และจันทบุรี
    ประเภท ไก่ชี เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัว เพศผู้ประมาณ 3.00 – 3.50 กิโลกรัม เพศเมีย 2.00 กิโลกรัมขึ้นไป
    สีของเปลือกไข่ สีขาวนวล
    ลักษณะลูกไก่ ขน ปาก แข้ง เล็บ สีขาวอมเหลือง

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูป ร่างลักษณะ ไก่ชี เป็นไก่สูงใหญ่สง่างาม ไหล่กว้าง ลำตัวยาวจับ 2 ท่อน อกกว้าง บั้นท้ายกว้าง กระดูกใหญ่ ปั้นขาใหญ่ยาวแข็งแรง แข้งกลม หางยาว สง่างาม
  • ปีก ปีกใหญ่ ยาวถึงก้น สีขาวตลอด
  • ใบ หน้า แหลม เกลี้ยงเกลาและกลมกลึงแบบหน้านกยูง
  • ตะเกียบ แข็งแรงและชิด ปลายโค้งเข้าหากัน
  • ปาก ใหญ่ งองุ้ม มีร่องปาก สีขาวอมเหลือง
  • หาง หางพัดยาว เรียงเป็นระเบียบจากล่างขึ้นบนทั้งสองข้างเท่ากัน หางกระรวยยาวพุ่ง ตรงปลายโค้งลงเล็กน้อยจรดพื้น รับกับพวงหางเป็นฟ่อน
  • จมูก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
  • แข้ง ขา บั้นขาใหญ่ ล่ำสัน แข้งยาว เล็กกลมแบบลำหวาย
  • ตา ขอบตารูปตัววี ดวงตาสีเหลือง
  • เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้ง เรียงกันเป็นระเบียบ สีขาวอมเหลืองรับกับปาก
  • หงอน หงอนหิน ท้ายหงอนกดกระหม่อม สีแดงสดใส
  • นิ้ว นิ้วกลมยาว ปลายเรียว มีท้องปลิงชัดเจน
  • หู ตุ้มหู รูหูกลมมีขนปิดหูสีขาว ตุ้มหูรัดตึงสีแดงสด
  • เดือย โคนใหญ่มั่นคง สีรับกับปากและแข้ง
  • หนี ยง รัดติดกับคาง สีแดงสดใส
  • ขน ขนลำตัว และใต้ปีกสั้นแน่น สร้อยคอ สร้อยปีก และสร้อยหลัง ละเอียดปลายแหลมเล็กสีขาวตลอด
  • กระ โหลก กลมกลึงยาวสองตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนหลัง มีรอยไขหัวตามชาติชัดเจน
  • กริยา ท่าทาง ไก่ชี เป็นไก่สวยงามอีกสายพันธุ์หนึ่ง ท่าทางก็เฉกเช่นไก่ชนทั่วไป องอาจ สง่างาม ยืนตรง อกตั้งหางพุ่ง
  • คอ คอใหญ่ ยาวมั่วคง กระดูกปล้องคอถี่ ชิด แน่น ขนคอขึ้นเป็นระเบียบ สร้อยคอยาวประบ่า

    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ลักษณะเช่นเดียวกับไก่ชนเพศเมียทั่วไป แต่มีขนสีขาวตลอดทั้งตัว

  • ปวะวัติไก่แดงนกรด


    ประวัติความเป็นมาไก่นกแดง-นกกรด
    ตามประวัติ ไก่นกแดงของพระยาศรีไสยณรงค์ ชนมา 6 ครั้ง ไม่เคยแพ้ใคร ทำให้เจ้าของสายพันธุ์ (ขุนฤทธิ์ปูพ่าย) สมัยเป็นทหารในสมเด็จพระมหินทราธิราชได้กินเหล้า จนเกิดอาการมึนเมา แล้วท้าสู้กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยไม่รู้จักกันมาก่อน ต่อมาภายหลังได้มาเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    แห ล่งกำเนิด
    สายพันธุ์ไก่นกแดงเป็นไก่พันธุ์แท้ มีอยู่ทั่วไปในภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ไก่นกแดงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้งสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นไก่ของขุนฤทธิ์ปูพ่าย หรือพระยาศรีไสยณรงค์ เจ้าเมืองกาญจนบุรี ทหารเอกแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นเพื่อนสนิทของขุนเดชพระเวทย์แสนศึก หรือพระยาไชยบูลย์ ผู้น้ำไก่เขียวหางดำ และไก่นกแดงไก่นกแดงจะพบมากในแถบจังหวัดกาญจนบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และพัทลุง

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูป ร่างลักษณะ เป็นไก่ทรงปลีกล้วย ลำตัวกลม ไหล่หนา และใหญ่ หางทรงฟ่อนข้าวหรือทรงหางม้า
  • ปีก ปีกใหญ่ ยาว เป็นลอนเดียว ไม่โหว่แบ่งสองตอน ขนปีกสีแดง สร้อยปีสีแดงสดสีเดียวกับสร้อยคอ และสร้อยหลัง
  • ใบ หน้า กลมกลึง แบบหน้านกกา
  • หาง หางพัด หางกระรวย ก้านหางสีแดง หางเป็นรูปหางม้า
  • ปาก ปากใหญ่ โคนปากมั่นคง มีร่องน้ำ 2 ข้าง ปากสีเหลืองอมแดง รับกับสีแข้ง เล็บ และเดือย
  • กระปุก น้ำมัน กระปุกน้ำมันเดี่ยว
  • จมูก จมูกสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
  • แข้ง ขา ปั้นขาใหญ่ ล่ำสัน แข้งเรียกกลมแบบลำเทียน ขนปั้นขาสีแดงแข้งสีเหลืองอมแดงรับกับสีปาก
  • ตา ขอบตา 2 ชั้น แบบตาวัว ดวงตาแจ่มใส สีแดง มีเส้นเลือดในดวงตาเห็นชัดเจน
  • เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้ว สีเหลืองอมแดง เป็นเกล็ดปัดตลอด
  • หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก โค้งกลางกระหม่อม
  • นิ้ว นิ้วเรียว ยาว เกล็ดนิ้วสีเหลืองออมแดงรับกับสีแข้ง
  • หู ตุ้มหู ตุ้มหูตัดไม่หย่อนยาน ขนปิดหูสีแดง สีเดียวกับสร้อยคอ
  • เดือย เป็นเดือยงาช้าง สีเหลืองอมแดงรับกับปาก และแข้ง
  • กระ โหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน มีรอยไขหัวเห็นชัดเจน
  • ขน ขนพื้นลำตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงตลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ก้านขนสีแดง
  • คอ คอเป็นรูปคอม้า ปล้องคอชิดแน่น ขนสร้อยคอสีแดง รับกับสร้อยหลังและสร้อยปีก
  • กริยา ท่าทาง ไก่นกแดงเป็นไก่สกุลเดียวกับไก่ทองแดง ไก่นกกด มองไกลๆ คล้ายกัน เป็นไก่สกุลสูงอีกชนิดหนึ่ง ทาทางสง่างาม มีชั้นเชิงดี

    ลักษณะ เด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ขนบริเวณลำตัวมีสีแดงเหมือน ตัวผู้เพียงแต่สีไม่แดงเข้มเท่า ปาก แข้ง เล็บสีเหลืองอมแดงเหมือนตัวผู้

    สายพันธุ์ไก่นกแดงมี 4 สายพันธุ์ คือ
    1.1.แดงชาด เป็นสีแดงเข้มหรือแดงนกแก่ดั่งสีชาด ขนพื้นลำตัว ตั้งแต่หน้าอก ท้องใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดงเข้ม ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดงเข้มเหมือนสีพื้นลำตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนปิดหูเป็นสีแดงเข้มสดใส เป็นมัน ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง

    1.2.แดง ทับทิม เป็นสีแดงสดใส สีอ่อนกว่าสีแดงชาด ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอ ใต้ท้อง ใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยเป็นสีแดงแบบสีพื้นลำตัว สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนปิดหูเป็นสีแดงสดใสขึ้นเงา ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง

    1.3.แดง เพลิง หรือ บางแห่งเรียก แดงตะวัน เป็นสีอ่อนกว่าแดงทับทิม สีจะไปทางสีแสดหรือสีแดงอมเหลือง ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดงแบบขนสีพื้นลำตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูมีสีแดงเพลิง ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดง

    1.4.แดง นาก เป็นสีแดงคล้ำๆ แบบสีตัวนาก ขนพื้นลำตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ก้นเป็นสีแดงนาก ขนปีก ขนหางพัด หางกระรวยสีแดง ปาก แข้ง เดือยสีเหลืองอมแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีแดงออกมัน ตาสีแดง



    ไก่นกกด
    ประวัติความเป็นมา

    เป็น ไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่นสง่าผ่าเผยชนเชิงดี มักมีแข้งเปล่าเป็นไก่ชนดุดัน ไม่กลัวใครไก่นกกดเป็นไก่สายพันธุ์แท้แต่โบราณมาแต่ ครั้งอยุธยา โด่งดังเมื่อครั้งฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่หน้าพระที่นั่งพระเจ้าบุ เรงนอง ขณะที่สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าและได้เลี้ยงเป็นพ่อ พันธุ์สืบทอดในประเทศพม่าจนถึงปัจจุบัน

    แห ล่งกำเนิด ไก่นกกด มีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่วๆ ไปแถบ จังหวัดนครสวรรค์ ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี เป็นต้น
    สีของ เปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลแดง
    ลักษณะลูกไก่ มีขนสีแดงลายลูกหมาป่า หรือลายกระทิง ปาก แข้ง และเล็บ สีเหลืองอมแดง

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศผู้

  • รูป ร่างลักษณะ ไก่นกกดเป็นไก่รูปทรงงดงามอีกสายพันธุ์หนึ่ง รูปร่างสูงโปร่ง ทรงระหง ไหล่กว้าง หลังยาว ปีกใหญ่ และยาว หางยาวเป็นพลูจีบ หรือฟ่อนข้าว ปั้นขาใหญ่ คอยาว ปากใหญ่ ปลายงุ้ม สีเหลืองอมแดงรับกับเล็บแลเดือย
  • ปีก ปีกยกใหญ่ เป็นลอนเดียว สร้อยหัวปีกสีแดงเป็นมัน กลางปีกสีแดงแบบพื้นตัว สีขนปลายปีกสีแดงอมน้ำตาลแบบสีปีกแมลงสาบ
  • ปาก ปากใหญ่ ปลายงุ้ม สีเหลืองอมแดงรับกับเล็บและเดือย
  • ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็งชิดและขนานกัน
  • จมูก จมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
  • หาง ขั้วหางใหญ่ หางพัดดก เรียงเป็นระเบียบ สีดำ หางกระรวยดก ยาวสีดำ หางเป็นลักษณะฟ่อนข้าวหรือพลูจีบ
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี สองชั้น ตาสีเหลืองอมแดง เส้นตาสีแดง
  • แข้ง ขา แข้งเล็ก เรียวกลม สีเหลืองอมแดง สีรับกับปากและเดือย
  • หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนบางเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกด หงอนมักจะเบ้ออกบ้างเล็กน้อย
  • เกล็ด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบสีเดียวกับปาก
  • หู ตุ้มหู ขนปิดหูสีแดงแบบสร้อย ตุ้มหูรัดรึงติดกับหน้า ดูกระชับไม่หย่อนยาน
  • นิ้ว นิ้วเรียว ยาว กลม มีตัวปลิงชัดเจน
  • เหนียง เหนียงรัดติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใส เหมือนหงอน
  • เดือย เดือยเป็นเดือยงาช้าง สีเดียวกับแข้งและปาก
  • กระ โหลก กะโหลกหัวยาวสองตอน มีรอยไขหัวชัดเจน
  • ขน ขนพื้นลำตัวสีดา ขนสร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังระย้าสีแดงอมน้ำตาล ขนหางสีดำ ขนปั้นขาสีดำ ขนปีกสีแดง ขนปลายปีกสีแดงอมน้ำตาลเข้มคล้ายสีปีกแมลงสาบ
  • คอ คอยาวใหญ่ โค้งลอนเดียวแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิด แน่น
  • กริยา ท่าทาง ไก่นกกดเป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่น สง่าผ่าเผย ขนเชิงตี เป็นไก่ชนดุดัน ไม่กลัวใคร

    ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เพศเมีย
    ขน พื้นตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย สร้อยคอสีน้ำตาล ขนหลัง ขนปีก สีน้ำตาล ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนหางพัดสีดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนปิดหูสีน้ำตาล ตาสีเหลืองอมแดง จะเป็นกดเฉดสีอะไรให้สังเกตดูที่สร้อยคอ จะขลิบสีเหมือนขนสร้อยตัวผู้

    สาย พันธุ์ไก่นกกด แบ่งได้ตามเฉดสีถึง 3 ชนิด คือ
    1.ไก่นก กดแดง ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนหางพัด หางกระรวยสีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู เป็นสีน้ำตาลอมแดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
    2.ไก่ นกกดดำ ขนพื้นลำตัวสีดำ ขนหางพัด หางกระรวย สีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ชนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีน้ำตาลอมดำคล้าย ๆ สีประดู่ แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดงอมดำ ตาสีแดงเข้ม
    3.ไก่นกกดเหลือง ขนพื้นลำตัวสีดำ ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบเช่นเดียวกับตัวอื่นๆ บางตัวจะมีลายดำอยู่ที่ปีก จึงเรียกว่า กดลาย ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู เป็นสีแดงอมดำอมน้ำตาล แบบสีตัวนากหรือนกกระปูด ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดงอมดำ