Thursday, June 3, 2010

ไก่ชน

ภาพ:Trd70301.gif

ไก่ชน เป็นกีฬาพื้นบ้านชนิดหนึ่งซึ่งได้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล คาดว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ประวัติของกีฬาไก่ชนที่เห็นได้เด่นชัดก็คือคราวที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรง ได้นำไก่ไปชนกับไก่พม่า และไก่ของพระองค์สามารถเอาชนะไก่ของชาวพม่าได้ กีฬาไก่ชนในปัจจุบัน มีการเลี้ยงไก่ชนอย่างแพร่หลายทั่วทั้งประเทศ และไก่ที่เลี้ยงมีหลายพันธุ์ด้วยกัน


ประวัติกีฬาไก่ชน

ประวัติ การเล่นไก่เพื่อเป็นเกมกีฬานั้นเท่าที่พอจะค้นหาหลักฐานได้พบว่า เมื่อ 480 ปีก่อน คริสตศักราช ขุนศีกจากนครเอเธนส์(ประเทศกรีซ) ได้ยกทัพเรือไปโจมตีชาวเปอร์เซียน ที่เกาะแซลอะมิส แล้วได้เห็นกีฬาชนไก่ของชาวเปอร์เซียน จนเกิดความสนใจในความแข็งแกร่งของไก่ชน หลังจากรบชนะแล้วจึงได้นำเอาไก่ชนมาจากนครเอเธนส์กลับมาด้วย และได้จัดให้มีการชนไก่เป็นประจำ จากนั้นได้แพร่หลายเข้าสู่กรุงโรม (ประเทศอิตาลี) ในสมัยของ เทมินโตเคลส แล้วแพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป แม้จะถูกกลุ่มผู้นำศาสนาคริสเตียนขัดขวางแต่การชนไก่ก็ยังคงเป็นกีฬาที่นิยม กันในประเทศ อังกฤษ อิตาลี เยอรมันนี สเปน และบรรดาเมืองขี้นประเทศเหล่านี้

ภาพ:3333.jpg


ในปี ค.ศ. 1700 ที่ประเทศอังกฤษมีการผสมพันธุ์ไก่ชนและฝึกให้ชนหรือตีกันจนกลายเป็น อุตสาหกรรมสำคัญในช่วงนี้ จากทวีปยุโรป กีฬาชนไก่ก็แพร่ไปยังทวีปอเมริกา เริ่มต้นโดยชาวอังกฤษที่อพยพจากเกาะอังกฤษไปตั้งรกรากที่รัฐนิวอิงแลนด์ ของอเมริกา หลังจากนั้นกีฬาชนไก่ก็แพร่ไปทั่วทุกรัฐ และประเทศอื่นๆ ในปีค.ศ.1836 รัฐบาลอเมริกาได้แก้กฎหมายห้ามชนไก่ เพราะถือว่าโหดเหี้ยมทารุนต่อสัตว์ ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2477-2478 ก็ได้นำมาอ้างในการออกกฎหมายบ้าง โดยมีเหตุผลอีกประการหนึ่งว่า หากปล่อยให้เล่นกันแล้วชาวไร่ชาวนาจะพากันหมกมุ่นกับการพนันกีฬาชนไก่ไม่ เป็นอันทำไร่ทำนา

ในเมืองไทยนั้น กีฬาชนไก่นั้นอาจจะพอสรุปได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน เกือบทุกหัวบ้านหัวเมืองตามตำบลใหญ่จะต้องมี “บ่อนไก่” ไว้สำหรับชนไก่แม้ว่าในระยะหลังจะมีการห้ามเปิดบ่อนกันเพิ่มขึ้นและมีการ กำหนดวันชนไก่ได้ไม่เกิน 2 วันต่อเดือน แก่กีฬาชนไก่และการเลี้ยงไก่ชนก็ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายของผู้ชายไทยโดย เฉพาะในชนบทอยู่ต่อไป

การชนไก่ เป็นอย่างไร

การชนไก่ หรือ cockfighting ก็คือ การเอาไก่ตัวผู้ สองตัว มาชนกัน ในสังเวียน ที่จัดขึ้น ไก่สองตัวนี้ นอกจากจะเป็น ไก่พื้นเมือง ที่มีสายพันธุ์ "ไก่ชน" (ไก่พื้นเมือง แบ่งออกเป็น สองประเภท ได้แก่ ไก่ ที่มี และไม่มีสายพันธุ์ ไก่ชน) เช่น ไก่เหลืองหางขาว ไก่ประดู่หางดำ ไก่เขียวเลา ไก่เทาทอง แล้ว ยังต้อง ผ่าน กระบวนการเลี้ยง เพื่อให้เป็น ไก่ชน โดยเฉพาะ อีกด้วย นั่นคือ เมื่ออายุได้ ๗ เดือน มันจะถูกนำมา ฝึกซ้อม หัดปล้ำกับ ไก่ รุ่นราว คราวเดียวกัน และได้ ออกกำลังกาย อยู่เสมอ โดยเจ้าของ จะนำ ไก่ อีกตัวหนึ่ง มาล่อ ให้มันโกรธ และวิ่งไล่กัน ประมาณ ๑๕ นาที ผ่านการ กราดน้ำ กราดแดด คือ เช็ดตัว ด้วยน้ำเย็น แล้วนำไป ตากแดดจัด เมื่อไก่หิวน้ำ จะยังไม่ให้กิน เพื่อสร้าง ความอดทน ให้ไก่ ถึงกระนั้น พวกมัน ก็จะได้รับ การประคบประหงม อย่างดี มีอาหารสมบูรณ์ ได้รับ การนวดตัว ด้วยสมุนไพร แถมยัง ได้นอนในมุ้ง


ภาพ:Cockfighting800.jpg


นักเลี้ยงไก่ จะทำทุกวิถีทาง ทั้งในขั้นตอน การเลี้ยง และระหว่าง การชน เพื่อให้ไก่ของตน ชนะ เพราะนั่นหมายถึง รายได้ก้อนโต จาก การพนัน ในบ่อนไก่ ซึ่งก็เหมือนกับ การพนันชนิดอื่น ที่ทำให้ คนเล่น กลายเป็น เศรษฐี หรือยาจก ได้ในพริบตา ในกรณีที่ เป็นไก่ชน พันธุ์แท้ บริสุทธิ์ และมี "ชั้นเชิง" ในการชนจริงๆ ยังอาจขายเป็น พ่อพันธุ์ไก่ชน ที่มีราคาสูง เหยียบแสน สร้างรายได้ ให้ผู้เลี้ยง อย่างงดงาม

"ตำราไก่เก่ง" บอกไว้ว่า ไก่ชนลักษณะดี ต้องมี "ปาก งุ้ม เหมือนเหยี่ยว เป็นร่องหนา แข็งแรง ตารูปตัววี คิ้วหนา หงอนหินบางกลางสูง คอยาวใหญ่ ลำตัวยาว ๒ ท่อน เนื้อเต็มทั้งหน้าอก และบั้นท้าย บั้นขาใหญ่ แข้งอิ่มกลม มีหมอนรองแข้ง มีเสือซ่อนเล็บ มีเหน็บชั้นใน... หางพันเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง..." ส่วนชั้นเชิง ในการชนนั้น ก็สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ต้อง "ปากไว ชนดี ตีแม่น" นักวิชาการ ด้านไก่พื้นเมือง ให้ข้อมูลว่า มีไก่ชน น้อยตัวนัก ที่มีคุณสมบัติ ดีพอจะนำไป แข่งขันชนไก่ได้

กติกาการชนไก่
ภาพ:Image010.jpg


เงินเดิมพัน

ข้อ 1. เมื่อเปรียบไก่ได้กันแล้ว ให้สองฝ่ายตกลงเก็บเงินเดิมพันไปวางไว้กับผู้รักษาเงินบ่อนก่อนปล่อยไก่เข้า ชนกัน ไก่ที่ยังไม่วางเงินเดิมพันจะนำเช้าไปชนไม่ได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายวางเงินเดิมพันแล้วยังไม่ถึงลำดับเข้าชน ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะถอนเงินเดิมพันคืนไม่ได้ (เว้นแต่ถึงเวลา 17.00 น.) เพราะมีเวลาขนกันน้อยอาจจะไม่ได้กินกัน ทางบ่อนยินดีคืนเงินให้ได้

นั้นจมลง ระยะซ้อมกินกัน 2 นาที ระยะชนกัน 10 นาที ภาชนะดังกล่าวตั้งเมื่อเวลาปล่อยไก่หากตัวใดตัวหนึ่งวิ่งหนีก่อนอันซ้อมจม ถือว่าไม่สู้แม้จะมีแผลหรือถูกเดือยก็ต้องยกเลิกกัน ถ้าหากตัวหนึ่งตัวใดวิ่งหนีพร้อมกับอันซ้อมตก 2 นาที จมหรือเสียงโป๊กดังขึ้นครั้งที่หนึ่ง หรือหลังจากนั้นถือว่าเป็นแพ้โดยเด็ดขาด

ซ้อมปากปล่อยหาง

ข้อ 3. ก่อนปล่อยไก่เข้าชนกัน ฝ่ายหนึ่งสงสัยว่าไก่ของตนไม่สู้เต็มตัว เสนอให้ผู้ปล่อยไก่อีกฝ่ายหนึ่ง และผู้ควบคุมการชนไก่ ในสังเวียนทราบล่วงหน้าว่า ฝ่ายตนต้องการซ้อมปากเป็นสัญญากินกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าชนกันแล้วฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ฝ่ายตนทำท่าจะไม่ สู้ จะบอกกันอีกฝ่ายหนึ่งว่าซ้อมปากกินกันไม่ได้ ต้องถือเอาอันซ้อม 2 นาที เป็นเกณฑ์ ถ้าหากผู้ปล่อยมีความประสงค์จะปล่อยหางกินกันก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องเสนอให้ผู้คุมบ่อนการชนไก่ก่อนปล่อยหางเข้าชนกัน เพื่อตกลงกันเป็นที่แน่นอนแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเอาอันซ้อม 2 นาที เป็นเกณฑ์

ถูกหักวิ่งหนี

ข้อ 4. ในระหว่างชนไก่กัน ตัวหนึ่งตัวใดถูกหักวิ่งหนีและออกปากร้องยังไม่ถือว่าแพ้ ต้องปล่อยจนหมดยกนั้นก่อนให้ทั้ง2ฝ่ายรับไปให้น้ำ 10 นาที เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นให้ทั้งสองฝ่ายนำไก่ไปปล่อยชนในสังเวียน หากตัวหนึ่งวิ่งหนีไม่สู้จึงถือว่าเป็นแพ้ถ้าหากตัวที่วิ่งหนีออกปากร้องใน ยกก่อนยังสู้อยู่ต้องชนกันไปจนกว่าจะแพ้หรือชนะ

จับเข้าหากัน

ข้อ 5. ไก่ทั้งคู่อยู่ห่างกันไม่พองสร้อยต่างยืนเฉยอยู่ และตัวหนึ่งวิ่งหนีและอีกตัวหนึ่งไม่ไล่ตาม ผู้ควบคุมการชนไก่มีสิทธิ์จับตัวต่อเข้าหาตัวรองทุกครั้ง ถ้าหากตัวหนึ่งหรือทั้งสองตาบอดผู้คุมการชนไก่มีสิทธิ์จับข้างตาดีเข้าหากัน หากตัวหนึ่งก้มหัวลงอยู่ใต้อกอีกตัวหนึ่งยืนเฉยต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น เพราะถือว่าไก่ทั้งสองอยู่ใกล้ชิดกัน

จับไก่ก่อน

ข้อ 6. เมื่อไก่ทั้งคู่ชนกันในสังเวียนก่อนถึงยกให้น้ำ ถ้าหากผู้ปล่อยไก่จับฝ่ายตนก่อนถือว่าเป็นแพ้ ไม่ว่าจะเป็นต่อหรือเป็นรอง ถ้าหากไก่ตัวหนึ่งกำลังวิ่งหนีอยู่ในสังเวียน ผู้ปล่อยไก่ตัวนั้นยังไม่ทันจับออก ผู้ปล่อยไก่ที่กำลังติดตามจับไก่ของตนก่อน ผู้ควบคุมการชนไก่จะตัดสินแพ้ทั้งคู่ (เว้นแต่ทั้งคู่ไล่ติดตามออกนอกสังเวียน ผู้ปล่อยไก่ทั้งสองฝ่ายจับไก่เข้าในสังเวียนได้) ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดจับไก่ที่กำลังชนกันในสังเวียนไม่ว่าตัวใดผู้นั้นจะต้อง รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ไก่คู่นั้นจะต้องชนกันไปจนแพ้-ชนะ ถ้าหากฝ่ายใดไม่ยอมชนต่อเมื่อยกนั้น ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินเป็นแพ้

ไก่ตาบอด

ข้อ 7. ไก่ตัวหนึ่งตัวใดตาบอดข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งถูกตีแหลกหรือเลือดปกคลุมแก้วตาดำไม่เห็นคู่ต่อสู้ ยังไม่ถือว่าแพ้ เพราะไก่ตัวนั้นยังสู้อยู่ต้องปล่อยไปจนหมดยก เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่จะได้พิสูจน์ทันที ถ้าปรากฏว่าตาบอดทั้งสองข้างจริงถือว่าแพ้ ไก่ตัวใดถูกตีตาบอดทั้งสองข้างในยกนั้น ยังไม่ถึงเวลาพิสูจน์ บังเอิญตัวตาบอดทั้งสองข้างตีตัวตาดีวิ่งหนีหรือออกปากร้อง เป็นแพ้ ต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นผู้ควบคุมการชนไก่จะได้พิสูจน์ตัวตาบอดก่อนทันที ถ้าเข้าลักษณะตาบอดทั้งสองข้าง ถือว่าแพ้ และตัวตาดีที่วิ่งหนีล่อหน้าไม่สู้ถือว่าแพ้ ทั้งคู่ยกเลิกกัน

หนียกสุดท้าย

ข้อ 8. ไก่คู่หนึ่งคู่ใดชนกันระหว่าง 12 อันยกสุดท้ายหรือจะถึงเวลา 19.00 น. ตามนาฬิกาของบ่อนที่จัดไว้ปรากฏว่าตัวใดตัวหนึ่งหนีหน้าอีกฝ่ายหนึ่ง นักพนันทั้งหลายจะถือว่าเป็นแพ้ไม่ได้ต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น หรือหมดเวลา 19.00 น. เสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่ จะให้ผู้ปล่อยจับเช็ดหน้าทันทีขณะที่อยู่ในสังเวียน เมื่อเช็ดหน้าเสร็จแล้วให้ปล่อยไก่ทั้งสองตัวเข้าหากัน ถ้าตัวหนึ่งไล่จิกหัวหรือจิกอีกตัวหนึ่งไม่จิกตอบหรือจิกแล้วบิดหน้าหนี เพียงครั้งเดียวถือว่าแพ้ ถ้าหากตัวที่เคยวิ่งหนีจิกตอบแล้วไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอกัน ต้องยกเลิกกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าหากันตัวต่อยืนเฉยอยู่ไม่ไล่จิกและ ตัวรองก้มหัวไม่บิดหน้าหนี ถือว่าเสมอ ยกเลิกเช่นกัน ถ้าหากฝ่ายหนีหน้ายกสุดท้ายหรือหมดเวลาดังกล่าว จับไก่ออกสังเวียนไป โดยไม่ทำตามคำสั่งผู้คุมการชนไก่ ถือว่าแพ้ตัวหนึ่งตัวใดเข้าปล่อยชนกันยกสุดท้าย ไม่ยอมสู้กับคู่ต่อสู้ ถือว่าแพ้เด็ดขาด

ปากเดือยหลุด

ข้อ 9. ถ้าหากปากไก่ตัวใดตัวหนึ่งหลุดออก จะใช้ปากไก่ใหม่สวมแทนได้ และไก่ตัวใดตีจนหลุดจะใช้เดือยที่หลุดผูกติดได้ เมื่อหมดยกพักให้น้ำ ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้เดือยไก่ตัวอื่นผูกแทน หรือโลหะสวมหรือผูกแทนถือว่าเป็นแพ้

ไก่ถูกยาพิษ

ข้อ 10. เมื่อเจ้าของไก่ทั้งสองฝ่าย ได้วางเงินเดิมพันกับผู้รักษาเงินบ่อนแล้วยังไม่ถึงลำดับเข้าชนกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ของตนถูกวางยาพิษ ต้องแจ้งให้เจ้าของบ่อนหรือผู้คุมการชนไก่ จะสั่งยกเลิกและคืนเงินเดิมพันที่วางไว้ ถ้าหากพิสูจน์แล้วไม่เป็นความจริง เจ้าของไก่จะต้องนำไก่ตัวนั้นเข้าชนตามลำดับที่จัดไว้ ถ้าไม่นำไปชนตามลำดับ ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินไก่ตัวนั้นว่าแพ้ เมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าชนกันแล้ว ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมากล่าวหาว่าไก่ของตนถูกวางพิษต้องปล่อยชนกันแพ้หรือชนะ

ไม่ให้บิดพลิ้ว

ข้อ 11. ไก่ทุกคู่เมื่อชนกันถึงอันยกพักให้น้ำ 10 นาที เสียงโป๊กดังขึ้นทั้งสองฝ่ายนำไก่เข้าชนต่อไป หากฝ่ายหนึ่งนำไก่เข้าไปคอยอยู่ในสังเวียนอีกฝ่ายหนึ่งทำท่าบิดพลิ้วไม่รีบ นำไก่เข้าชนตามกำหนด ผู้คุมการชนมีสิทธิ์สั่งตั้งอันซ้อม 2 นาที ถ้าหากอันซ้อมจมลง เสียงโป๊กดังขึ้นก่อนนำไก่เข้าในสังเวียน ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินใจให้ไก่ตัวนั้นแพ้

ยกโดยลำพัง

ข้อ 12. ไก่คู่หนึ่งคู่ใดชนกันไม่ถึง 12 อัน หรือหมดเวลา 19.00 น. ถ้าหากเจ้าของหรือผู้ปล่อยไก่ทั้งสองฝ่ายตกลงยกเลิกกันเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ควบคุมบ่อนไก่ 19.00 น. เสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่ จะให้ผู้ปล่อยจับเช็ดหน้าทันทีขณะอยู่ในสังเวียน เมื่อเช็ดหน้าเสร็จแล้วให้ปล่อยไก่ทั้งสองตัวเข้าหากัน ถ้าตัวหนึ่งไล่จิกหัวหรือจิกอีกตัวหนึ่งไม่จิกตอบหรือจิกแล้วบิดหน้าหนี เพียงครั้งเดียวถือว่าแพ้ ถ้าหากตัวที่เคยวิ่งหนีจิกตอบแล้วไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอกัน ต้องยกเลิกกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าหากันตัวต่อยืนเฉยไม่ไล่จิกและ ตัวรองก้มหัวไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอยกเลิกเช่นกัน ถ้าหากหนีหน้ายกสุดท้าย หรือ หมดเวลาดังกล่าวจับไก่ออกสังเวียนไปโดย

ไม่ทำตามคำสั่งผู้คุมการชนไก่ถือว่าแพ้ตัวที่ปล่อยชนกันยก สุดท้าย ไม่ยอมสู้กับคู่ต่อสู้ ถือว่าแพ้เด็ดขาดจะต้องเสียค่าน้ำทั้งสองฝ่าย คือร้อยละ 5 บาท ตามจำนวนเงินเดิมพันที่วางไว้

ห้ามของมึนเมา

ข้อ 13. เมื่อปล่อยไก่เข้าชนกันแล้ว เจ้าของหรือผู้ปล่อยไก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ตนสู้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ จะนำเอาของมึนเมา หรือสิ่งอื่นใดให้ไก่กินไม่ได้ ถ้าหากไก่ตัวใดเข้าไปในสังเวียนไม่ยอมสู้กับคู่ต่อชนคือไม่จิกตอบ ไม่ยืนเตะ นอนอยู่กับพื้นตลอดยกนั้น เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้น ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินไก่ตัวนั้นแพ้


ประวัติไก่ชนพระนเรศวร(ไก่ชนเหลืองหางขาว)

ภาพ:1475.jpg
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


จากหนังสือพระมหากษัตริย์ไทย ของประกอบโชประการ 2519 หน้า 208 กล่าวไว้ดังนี้

วันหนึ่งได้มีการตีไก่ขึ้นระหว่างสมเด็จพระนเรศวรฯกับไก่ของ มังชัยสิงห์ราชนัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา)ไก่ของ สมเด็จพระนเรศวรตีชนะ ไก่ของมังชัยสิงห์ มังชัยสิงห์ขัดเคืองพระทัยจึงตรัส ประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่าว่า

“ ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง หนอ ” ถ้าไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกล้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะ ได้แต่รับฟังหรือ เจรจาโต้ตอบไปอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่สมเด็จพระนเรศวรฯไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์จึงตรัสตอบโต้เป็นเชิงท้าอยู่ใน ทีว่า “ ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเอาเมืองกันก็ยังได้ ”

จากหนังสือของประยูร ทิศนาคะ : สมเด็จพระนเรศวร ฉบับออกอากาศ, พระนครหอสมุดกลาง 09,2513 ( 10 ) 459 หน้า 64-65ได้บรรยายการชนกันอย่างละเอียดว่า

“ขณะที่ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรกับไก่ของพระมหาอุปราชา แห่งกรุงหงสาวดีกำลังชนกันอยู่อย่างทรหด ต่างตัวต่างจิกตีฟาดแข้งแทงเดือยอย่างไม่ลดละ ฝ่ายทางเจ้าของไก่ คือ พระนเรศวรและพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีพร้อมทั้งข้าราชการบริพาร ทั้งหลายที่เสมอนอก ก็เขม็งมองด้วยความตั้งอกตั้งใจและผู้ที่ปากเปราะหน่อย ก็ตีปีกร้องสนับสนุนไก่ข้างฝ่ายเจ้านายฝ่ายของตนเป็นที่สนุกอย่างคาดไม่ถึง ขณะที่ไก่ฟาดแข้งกันอย่างอุตลุดพัลวัน สายตาผู้ดูทุกคู่ต่างก็เอาใจช่วยและแทบว่าจะไปตีแทนไก่ก็ว่าได้คล้ายกับว่า ไก่ชนกันไม่ได้ดังใจตนเมื่อทั้งสองไก่พัวพันกันอยู่พักหนึ่ง ไก่ของพระมหาอุปราชก็มีอันล้มกลิ้งไปต่อหน้าต่อตา ไก่ชนของพระนเรศวรฯกระพือปีกอย่างทระนงและขันเสียงใส พระมหาอุปราชถึงสะอึกสะกดพระทัยไว้ไม่ได้ ”

นับว่าเมืองไทยเรามีไก่ชนที่เก่งมาก จึงทำให้สมเด็จพระนเรศวรฯ เชื่อพระทัยอย่างแน่นอนว่าเมื่อชนต้องชนะไก่พม่า จึงกล้าท้าทายเดิมพันบ้านเมืองกัน พงศาวดารยังกล่าวถึงการตีไก่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในพม่าโดย เฉพาะราชสำนักถือกันว่า“การตี ไก่เป็นกีฬาในวัง” บรรดาเชื้อพระวงศ์จึงนิยมเลี้ยงไก่ชน กันแทบทุกตำหนักจะเห็นได้ว่าการตีไก่เป็นที่โปรดปรานของเชื้อพระวงศ์ในวัง พม่าจึงเชื่อได้ว่าคนไทยสมัยนั้นก็นิยมการตีไก่กันอย่างแพร่หลาย เช่นกัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทน์ เมืองพิษณุโลกสองแคว พระองค์ทรงโปรดปรานการตีไก่มาแต่ทรงเยาว์วัยทรงใฝ่หาความรู้และเสาะหาไก่ เก่งมาเลี้ยงไว้ด้วยเช่นกัน

ไก่ชนไทยเป็นที่รู้จักกันดีและมีชื่อเสียงในทวีปเอเชีย ในด้านความสวยงามและทักษะในการต่อสู้ ไก่ชนไทยมีกำเนิดในทวีปเอเชียตอนใต้พัฒนาจากไก่ป่าสีแดงในแถบอินโดจีน พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย พันธุ์ไก่ชนไทยได้รับการคัดเลือกพันธุ์ ผสมพันธุ์ พัฒนาโดยนักเล่นไก่ชนไทยมากว่า 500 ปี

ในชนบท การเลี้ยงไก่ชนเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีพแทบทุกหมู่บ้าน เลี้ยงปล่อยหลังบ้านเพื่อการนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและเป็นแหล่งอาหารที่ มีรสชาติดี มีคุณภาพ

1. เจ้าเนื้อ ลำตัวยาว หน้าอกกว้าง ปั้นท้ายกว้าง และปั้นขาใหญ่

2. สง่า สีสันสดใส สวยงาม

3. แข็งแรงและทนทานต่อโรค

4. มีลักษณะนิสัยเป็นนักสู้ตามธรรมชาติ ฉลาด มีชั้นเชิง ตีแม่นยำ และมีความอดทนเป็นเลิศ

5. ความสามารถในเชิงกีฬา เป็นการเพิ่มมูลค่า

6. ฟักไข่และเลี้ยงลูกเก่ง

7. คุ้ยเขี่ยหาอาหารกันเก่ง ใช้อาหารจากธรรมชาติเป็นหลัก

8. ชอบกินหนอนและแมลง เป็นสัตว์ช่วยลดปริมาณศัตรูพืช

9. ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

10. เนื้อแน่น รสชาติดี มีไขมันต่ำ และปลอดภัยจากสารพิษ

No comments:

Post a Comment