Thursday, June 3, 2010

ไก่ป่าก๋อย


ประวัติ ความเป็นมาของไก่เหล่าป่าก๋อย



ประวัติความเป็น มาของไก่เหล่าป่าก๋อย หมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นแหล่งสถานที่ให้กำเนิดสายพันธุ์ไก่ชนมีเชิงกัดจิก ไม่เลือกที่ คาบบ่าตีตัว (ก้าบจัด)ทรหดอดทน และที่สำคัญตีแรงตีหนัก (ฆ้อนหนัก) ซึ่งไก่ชนสายพันธุ์นี้ให้ชื่อ เรียกตามหมู่บ้านว่า "ไก่เหล่าป่าก๋อย"



เล่ากันว่า พ่อหลวงสุพจน์ วิจิตร ผู้ใหญ่บ้านป่า รกฟ้า ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง เมื่อประมาณ 30ปีก่อน เมื่อพ่อหลวงสุพจน์ ได้ถูกเกณฑ์ทหาร เข้าประจำการในเขตภาคตะวันออก หลังจากปลดประจำ การแล้วก็ได้นำไก่ชนของเมืองจันทน์กลับมาด้วย เป็นไก่สีเหลืองเลาตัวผู้ มีลีลาการชนคล้ายๆ ไก่เชิงตราด คือ มัดล็อค มุด ตีตัว และลอดทะลุหลัง ส่วนตัวเมียเจ้าของไม่ให้เพราะห่วงสายพันธุ์ เมื่อกลับมาถึงบ้านป่ารกฟ้า ก็ได้นำมาพัฒนาผสมพันธุ์กับไก่พื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ เดินหน้าจิกหลังตีทั่วตัว ไม่ต้องใช้เชิงก่อน เป็น ไก่รอยเล็ก น้ำหนักราว1.8-2 กิโลกรัม ปรากฎว่าลูกครอกแรกๆถือว่าใช้ได้ แต่พอต่อๆมาก็เริ่มใช้ไม่ได้ เพราะสาเหตุการผสมครอกหรือสายเลือดเดียวกันทุกๆปี ทำให้เกิดเลือดชิด พ่อหลวงสุพจน์จึงกลับไปเมืองจันทน์อีกครั้ง เพื่อเสาะหาสายพ่อพันธุ์เหลืองเลาตัวเก่ง และก็ ได้กลับมาหลายตัว เมื่อผสมไปได้หลายปี ปรากฎว่าลูกไก่ที่ออกมามีโครงสร้างตามสายพันธุ์และที่สำคัญมีชั้นเชิงดีกว่า พ่อและแม่พันธุ์เดิม คือได้เชิงดีทั้งจากพ่อและแม่ โดยเฉพาะเชิงเดินหน้าตีและจิกหลังตีทั่วตัว ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะเด่นของไก่สายพันธุ์นี้ ต่อ มาก็มีนักเล่นไก่ต่างหมู่บ้านได้นำสายพันธุ์ไก่นี้ไปเลี้ยงและพัฒนาต่อ เนื่อง

หมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ก็เป็นอีกหมู่ บ้านที่ได้รับสายพันธุ์ไก่มาจากพ่อหลวงสุพจน์ และ ไก่สายพันธุ์จิกกัดไม่เลือกที่ จากบ้านเหล่าป่าก๋อยนี้เอง ที่ถูกนำออกชนและสร้างชื่อเสียง จนขนานนาม ไก่สายพันธุ์นี้ว่า "ไก่เหล่าป่าก๋อย"

ยังเล่าต่อกันอีกว่าในการพัฒนาไก่เหล่าป่าก๋อย ในรุ่นต่อๆมา มี กำนัน แก้วปาปวน อดีตกำนัน3สมัย แห่งตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง ได้เป็นผู้อนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนเหล่าป่าก๋อยเช่นกัน โดยได้สายพันธุ์มาจากพ่อหลวงสุพจน์

คุณเชียร สันกำแพง ประธานชมรมอนุรักษ์ไก่ชนเมืองเหนือ จังหวัดลำพูน ได้เล่าถึงความเป็นมาว่า เมื่อประมาณปี 2526-2527 สมัยนั้นเซียนไก่ชนไม่มีใครเล่นไก่ชนที่มีเชิงลักษณะไก่ เหล่าป่าก๋อย แต่จะนิยมเล่นไก่สายพันธุ์พม่ามากกว่า คุณเชียร เล่าต่อไปว่า แต่เดิมนั้นพ่อหลวงสุพจน์และกำนันแก้ว ปาปวน เป็นผู้เลี้ยงและพัฒนาพันธุ์ แต่ก็ยังไม่ ค่อยมีใครให้ความสนใจกับไก่ชั้นเชิงนี้เท่าไร จนกระทั่ง นายเดช ปาปวน ชาวหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ได้เหล่ากอสายพันธุ์ไก่นี้มาจากพ่อหลวงสุพจน์ และนำออกชนตามสนามชนไก่ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง และได้รับชัยชนะ สร้างชื่อเสียงให้กับไก่ชนสาย พันธุ์นี้เป็นอย่างมาก สมัยนั้นเล่ากันว่า เซียนทางภาคเหนือพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ไก่อะไรจิกกัดทั้งตัว" ไก่ตัวที่สร้างชื่อเสียงให้นายเดช ปาปวน เป็นอย่างมาก เช่น ไอ้สาวิดีโอ ,ไอ้สาน้อย และ นายเดช ปาปวน มีเพื่อนที่สนิทและเล่นไก่ด้วยกัน คือ นายจำลอง ชัยปัน หรือที่รู้จักกันในนาม นายยืน ชาวบ้านหนองผ้าขาว ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ก็เป็นผู้ ได้รับเหล่ากอและพัฒนาสายไก่เหล่าป่าก๋อย หลังจากนายเดช ปาปวน เสียชีวิตแล้ว

นายจำลอง ชัยปัน หรือ นายยืน เปิดเผยว่า เดิมที่ตนและนายเดช ปาปวน เป็นเพื่อนสนิทกันมาก นายเดชเป็นชาวบ้านเหล่าป่าก๋อยและเป็นหลานของกำนันแก้ว ปาปวน หลังจากที่นายเดช เสียชีวิต ตนเองได้นำไก่สายพันธุ์ของนายเดชมาเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์สืบต่อมา ไก่ชนที่ทำชื่อเสียงให้กับ นายจำลอง ชัยปัน หรือนายยืน ได้แก่ ไก่ชื่อไอ้แจ้ ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์และให้ลูกเก่งออกมาหลายตัว คือ ไอ้ทหารเรือ ไอ้แดงน้อย ไอ้แดงหน้าง่อม ตัวที่นายยืน พูมใจที่สุดก็คือ ไอ้หนุ่มเหนือ คาราบาว หรือไอ้สามแสนสาม ชนชนะไก่ พม่าที่สนามชนไก่ เวล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2543 ไก่ตัวนี้เป็นไก่ ลูกเพาะของตน เกิดที่ บ้านหนองผ้าขาว หรือบ้านวังสวนกล้วย ไก่ชนไอ้หนุ่มเหนือคาราบาว ตนเองเพาะเลี้ยงและแบ่งกับครูรัน โดยครูรันเลี้ยงและออกชนในเขตภาคเหนือ จากนั้นครูรันได้ขายต่อให้กับคุณเลิศพงศ์ อดิศร หรือทนายก้อง

ไอ้หนุ่มเหนือคาราบาว มาจากสายพันธุ์ไอ้แจ้ ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์สายหลักของนายยืน ไอ้แจ้เป็นพ่อไก่ให้ลูกเก่ง และไอ้แดง หน้าง่อมก็เป็นไก่เก่ง ลูกของไอ้แจ้ และเป็นพ่อของ ไอ้หนุ่มเหนือคาราบาว ส่วนแม่พันธุ์ ชือ แม่ยักษ์ ซึ่งให้ลูกเก่งๆหลายตัว เช่น ไอ้สองหมื่นเก้า ,ไอ้เขียววัว ,ไอ้องครักษ์จั่น ,ไอ้จิ้งหรีดทอง ,ไอ้แมงจอน เป็นต้น

(คัดย่อจาก วารสารสื่อปศุสัตว์ ฉบับปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๓ )

ผู้สร้างตำนานเหล่าป่าก๋อยและผู้ร่วม อุดมการณ์เผยแพร่พัฒนาจนมาเป็นเหล่าป่าก๋อยที่โด่งดัง

พ่อหลวงพจน์ พ่อหลวงพจน์หรือคุณสุพจน์ วิจิตร ผู้ที่คนยกย่องว่าเป็น"รากเหง้าของไก่ เหล่าป่าก๋อย

พ่อหลวงสุ พจน์มีความสนใจและรักไก่ชนตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหาร ก็ถูกคัดเลือกเข้าประจำการและมีโอกาสรู้จักกับเพื่อนทหารจากจังหวัดตราดที่ ชื่นชอบไก่ชนเช่นเดียวกัน หลังจากพ้นประจำการจึงได้นำไก่ชนจากเพื่อนทหาร ที่จังหวัดตราด กลับมาเลี้ยงที่บ้านเหล่าป่าก๋อย โดยได้เฉพาะพ่อไก่มาจากตราดและนำมาผสมพัฒนากับไก่พื้นบ้านเหล่าป่าก๋อย ลูกหลานที่ได้ปรากฎว่ามีชั้นเชิงแตกต่างจากไก่เหนือทั่วไป คือ มีเชิงเข้าปีก มุดมัด เอี้ยวเลี้ยวคอบน กอดกดขี่ มีบ้างบางตัวคาบบ่าตีตัว และในรุ่นถัดๆมาจึงคัด ผสมให้มีลงเหล่าคาบบ่าตีตัวเป็นลักษณะเฉพาะ แต่ต่อ มาพ่อหลวงสุพจน์มีภาระกิจมาก จึงไม่มีเวลาให้กับการพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนอีก และได้มอบสายพันธุ์ไก่เชิงคาบบ่าตีตัวให้กับผู้อื่นต่อไป เช่น นายยืนบ้านท่าไม้ ,ครูนิ่ม ,นายเสริฐ ,ครูเลิศบ้านเหล่าป่าก๋อย รวมทั้งครูนิรันดร์แห่งวังสวนกล้วย เป็นต้น

กำนันแก้ว ปาปวน อดีตกำนันสาม สมัยแห่งตำบลน้ำดิบ ได้นำสายพันธุ์ส่วนหนึ่งมาจากพ่อหลวงสุพจน์ มาเลี้ยงและพัฒนา จนตกทอดถึงหลานชายคือ นายเดช ปาปวน

นายเดช ปาปวน นักเลงไก่ชน ผู้นำไก่ชนป่าก๋อยออกชนตามสังเวียน จนเริ่มเป็นที่รู้จัก เป็นดังผู้เปิดประตูให้ไก่ชนเหล่าป่าก๋อยออกมาจากส่วนลำใยเพื่อผงาดใน สังเวียน นายเดชเกิดและโตที่บ้านเหล่าป่าก๋อย จากเป็นคนที่ชอบไก่ชนจึงได้ทำการสะสมไก่เก่งๆในหมู่บ้านไว้หลายตัว และหลายตัวที่มีอยู่ก็คือไก่เชิงคาบบ่าตีตัว สายพันธุ์พ่อหลวงสุพจน์ เมื่อนายเดชนำไก่เหล่าป่าก๋อยเข้าบ่อนมักจะได้รับชัยชนะ เสียส่วนใหญ่ ประกอบกับลีลาชั้นเชิงแตกต่างจากไก่เหนือทั่วไป จึงเป็นที่ติดตาต้องใจของผู้พบเห็นเชิงชน ซึ่งมี ทั้งกัดบ่าตีตัว ตีไม่เลือกที่ กัดกระชากถอนขน ทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บรำคาญ ด้วยชัยชนะและเอกลักษณ์คาบบ่าตีตัว กัดตีไม่เลือกที่ จึงมีผลให้ทุกคนรู้จักไก่เหล่าป่าก๋อยแพร่หลายมากขึ้น ถือว่านายเดช ปาปวนเป็นผู้ทำให้วงการไก่ชนรู้จักกับไก่ชนอีกสายพันธุ์ คือ ไก่เหล่าป่าก๋อย แต่นายเดชเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อยังอายุน้อย ช่วงชีวิต สั้นนักเกินกว่าจะเห็นสายพันธุ์นี้ ผงาดและรู้จักทั่วไปในวงการไก่ชนทั้งประเทศ

คุณบุญเลิศ อินบุรี (อาจารย์เลิศ) ครูเลิศกล่าวว่า ต้นกำเนินมาจาก ไก่พ่อหลวงสุพจน์ และคุณเสริฐ เอามาเลี้ยงไปชนที่เชียงใหม่และชนะมาตลอด ก็เลยขอแบ่งซื้อจากคุณเสริฐมาเลี้ยง เป็นไก่สี เขียว

แต่พอเพาะพันธุ์ไป เรื่อยๆ ลูกหลานที่ได้มีสองสี คือ เหลืองและเขียว ปากสีขาว หงอนไม่ใหญ่ไม่เล็กได้สัดส่วนสวยงาม ผิวหนังปั้นขาไม่ค่อยแดง หางส่วนมากจะออกดอกๆ แข็งเป็นเกล็ดสองแถวเสียส่วนใหญ่ ข้อเสียของไก่เหล่าป่าก๋อย คือ ปีกแห้งกรอบ ลักษณะเชิงตีจะเป็นไก่ก้าบหลัง คือ ตีตัว มุดมัด จิกกระชากขน แต่ถ้าหัวระเบิดอันตรายมากหมายถึงยื่นหัวแลก แข้งเพื่อเข้าวงใน ถ้าเดินช้าด้วย โอกาสจะเกิดแผลที่หัวมีมาก แต่ถ้าไปเจอเชิงที่เหมือนกันและสู้ไม่ได้ ก็ลงลายหัวเหมือนกัน ดังนั้น เขาจึงไม่ค่อยปล้ำกันเอง เพราะมักจะเสียไก่ทั้งคู่ เชิงที่ถือว่าดีที่สุดของไก่เหล่าป่าก๋อยจะต้องเข้าปีก แล้วก้าบหลัง เดินหน้า ไก่ป่าก๋อยจะแพ้ทางเชิง ม้าล่อ

ครู เลิศเปรยถึงไก่ตัวเก่งชื่อไอ้แก้ว ซื้อมาในราคา ๕,๐๐๐ บาท จากเชียงใหม่ และต่อมาได้มอบให้คุณแอ๊ด คาราบาว ไป

การคัดเลือกพ่อพันธุ์ อาจารย์เลิศ กล่าวว่า ต้องเป็นไก่ที่ชนชนะมาแล้ว คางเคราสีเหลือง หางดอก ส่วนแม่พันธุ์จะมีแม่เดิมเป็นหลักซึ่งเป็นเหล่าที่มีเชิงก้าบ หัวดอก ตกกระตามตัว แม่สีนี้จะให้ลูกเก่งค่อนข้างมากในแต่ ละครอก อาจารย์เลิศ กล่าว เพิ่มเติมว่า ไก่ในซุ้มที่เก่งก็จะมีสีเขียวเลา ออกชนมา2ปีแล้ว ปีละ3-4ไฟท์ แล้วก็มีอีกตัวของครูนิ่ม คือ เจ้าแก้วฟ้า

ไก่ชื่อ เจ้าแก้วฟ้า ภาพจากหนังสือนิตยสาร(เซียนไก่ชน)ยอดไก่ชน ฉบับพิเศษ ไก่คาบบ่าตีตัว

คุณอุปถัมน์ ใจธัญ (ครูนิ่ม) ครูนิ่มกล่าวว่า ไก่ที่ทำชื่อเสียงให้กับเหล่าป่าก๋อยตัวหนึ่ง เป็นไก่ลาย เจ้าของคือ พ่อหลวงเทวราชหรือพ่อหลวงนวย เป็นไก่ที่กัดบ่า ตีตัว ตีแรง ปีแรกตีได้ไม่กี่ครั้งก็พัก พอปีที่สองก็ออกชนที่เชียงใหม่ โดยมีครูเลิศและนายเดชเป็นผู้นำออกตี ครูนิ่ม กล่าวว่า ได้สายพันธุ์มาจากพ่อหลวงนวย โดยตัวที่ได้มามีเชิงกัดบ่า ตีตัว เป็นหลัก


ไก่สายพันธุ์ของพ่อหลวง นวยได้ขยายตัวขยายพันธุ์กว้างขวาง และมีเชิงชนคาบบ่าตีตัว ในรุ่น ถัดๆมาก็มีคนนำสายพันธุ์ของพ่อหลวงพจน์มาผสมสายเลือดกันอีก ไก่เก่งๆ เชิงคาบบ่าตีตัวได้ออกนำไปตีที่เชียงใหม่ ในใช้ชื่อ เหล่าป่าก๋อย ก็เลยเรียกติดกันว่าไก่เหล่าป่าก๋อย ในสายตาของครูนิ่ม ไก่ป่าก๋อยมีรูปร่างล่ำเตี้ย รอยเล็กประมาณ 2กก. นานๆจะมี 2.5-2.6 กก.สักตัว สีจะคล้ายกับไก่เหลืองหางขาวของภาคกลาง มักจะมีหัวดอกหรือด่าง หางดอก ไหล่ดอก เขาดอก เป็นตกกระตามตัว ปากขาว ปากเหลือง อาจมีปากดำบ้าง แข้งส่วนใหญ่จะ เป็นเกล็ดสองแถว แข้งเหลี่ยมๆ ข้อเสียคือ ถ้าอายุไม่ดีกระดูกไม่ดี ตีไปเรื่อยจะซึม จะให้ดี ต้องรอชนขวบจึงเลี้ยงออกชนจะดีกว่า ชั้นเชิงป่า ก๋อยเป็นไก่ไม่เลือกทีตี จิกจับได้ตีกระชากขน ซึ่งไก่เหนือ(พม่า)จะไม่ชอบ แต่ไก่เหล่าป่าก๋อยจะไปแพ้ทางไก่เชิงม้าล่อ และไก่เหล่าป่าก๋อยด้วยกัน

คุณเทวราช หยุมปัญญา(พ่อหลวงนวย)

พ่อหลวงนวย ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านเหล่าป่าก๋อย ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง ลำพูน เล่าถึงไก่เหล่าป่าก๋อยว่า เป็นไก่ลีลาจิกหลัง ไล่บี้ประชิดตัวทำให้ไก่พม่าที่นิยมกันในภาคเหนือ ไม่มีจังหวะโยก ถอย หลบ ได้ทัน เมื่อมาพบกันก็พลัดกันแพ้ชนะ จึงเป็นคู่ปรับที่เหมาะสมกันมาก พ่อหลวงนวยเล่าต่อว่า ต้นตระกูลเหล่าป่าก๋อยของพ่อหลวงนวย ได้นำแม่พันธุ์มาจากหนองยวง ส่วนพ่อพันธุ์มาจากห้วยไฟซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองภาคเหนือ มีลักษณะเชิงชนไม่เลือกที่ตีชนชนะมาหลายครั้ง ได้นำมาเป็นพ่อพันธุ์หลัก จากนั้นได้แม่พันธุ์มาจากพ่อหลวงสุพจน์ ที่บ้านป่ารกฟ้า ซึ่งแม่พันธุ์มีลักษณะเชิงจิกหลัง ถอนขน เข้าปีก ล็อค มุดมัด ตีลำตัว บุกไล่ประชิดตัว ปัจจุบันไก่ของหมู่บ้านเหล่าป่า ก๋อยแพร่กระจายออกจากหมู่บ้านไปมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา และเก่งฉกาจฉลาดดีขึ้นกว่าในอดีต เป็นที่รู้จักของนักเลงไก่มากขึ้น

คุณจำลอง ชัยปัน (นายยืน)

คุณจำลอง ชัยปัน หรือนายยืน เปิดเผยว่า เดิมที่ตนและนายเดชปาปวน เป็นเพื่อนสนิทกันมาก นายเดชเป็นคนบ้านเหล่าป่าก๋อย และเป็นหลานชายของพ่อกำนันแก้วปาปวน อดีตกำนันตำบลน้ำดิบสามสมัย หลังจากที่นายเดช เสียชีวิต ตนได้นำไก่สายพันธ์ของนายเดชมาเลี้ยงไวและพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน นายยืนเล่าต่อ ไปว่า ไก่ชนที่ตนเพาะเลี้ยงและทำชื่อเสียง เช่น ไอ้แจ้ ไอ้ทหารเรือ ไอ้แดงน้อย ไอ้แดงหน้าง่อม ตัวที่สร้างความพูมใจ ให้มาก ก็คือ ไอ้หนุ่มเหนือ คาราบาว หรือไอ้สามแสนสาม ชนชนะไก่พม่าที่สนามชนไก่เวล นครปฐม เป็น ไก่ลูกเพาะของตน เกิดที่บ้านหนองผ้าขาวหรือบ้านวังสวนกล้วย โดยตนเองเพาะแบ่งกับครูรัน จากนั้นครู รันได้นำไปเลี้ยงแล้วออกชนในเขตภาคเหนือ จากนั้นครูรัน ก็ขายให้กับทนายก้องหรือคุณเลิศพงศ์ อดิศร

ไอ้หนุ่มเหนือคาราบาว เป็นหลานไอ้แจ้ ซึ่งเป็นพ่อพันธุ์หลักของตน เป็นลูกของไอ้แดงหน้าง่อม ส่วนแม่ไก่คือ แม่ยักษ์ ซึ่งให้ลูกเก่งมากหลายตัว เช่น ไอ้สองหมื่นเก้า ไอ้เขียววัว ไอ้องค์รักษ์จั่น ไอ้จิ้งหรีดทอง และไอ้แมงจอน เป็นต้น

No comments:

Post a Comment